หน้า 1 จาก 2

          พืชกลุ่มที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงเริ่มปรากฏในช่วงยุคซิลูเรียน ไม่มีใบและรากที่แท้จริง ลำต้นหยั่งลงดินและส่วนที่โผล่เหนือดินขึ้นมาทำหน้าที่สังเคราะห์แสง จากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ของพืช Cooksonia sp. ที่มีอายุประมาณ 400 ล้านปี คาดว่าพืชกลุ่มนี้น่าจะเป็นพืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงกลุ่มแรกและเป็นบรรพบุรุษของพืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงกลุ่มอื่นๆ

     
ซากดึกดำบรรพ์และภาพวาดของ Cooksonia sp.

          พืชกลุ่มที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงกลุ่มแรกๆ มีวิวัฒนาการต่อมาโดยแยกออกเป็นพืชมีเนื้อเยื่อลำเลียงที่ไม่มีเมล็ดจำพวก rhyniophyte และ zosterophyllophyte ในต้นยุคดีโวเนียน ซึ่งจากซากฟอสซิลของพืชกลุ่มนี้พบว่า มีปากใบ (stoma) และมีการสร้างคิวติเคิล (cuticle) เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ มีเซลยื่นยาว (rhizoid) ที่ทำหน้าที่ดูดน้ำและสารอาหารของก้านชูสปอร์ (sporangium)

ภาพวาดแสดงลักษณะของพืชกลุ่ม rhyniophyte (ซ้าย) และซากดึกดำบรรพ์ของ zosterophyllophyte (ขวา) จะเห็นลักษณะการแตกกิ่งแบบคู่ของก้านชูสปอร์

 

 
หน้า 1 2