การใช้เทคโนโลยีและการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมโดยไม่ถูกต้อง ประกอบกับ
การเพิ่มจำนวนประชากร อย่างรวดเร็วมี ผลทำลายดุลยภาพของสิ่งแวดล้อม ก่อให้้เกิดความ
เสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติ
ิและสมบัติทางวัฒนธรรมที่เป็นมรดกสืบทอด ดังนั้นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เป็น
เพียงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น หากต้องควบคุมไปถึงปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรม
ชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา แม่น้ำ สัตว์ป่า ทัศนียภาพที่สวยงามตามธรรมชาติ ตลอดจนการรักษา
และส่งเสริมสมบัติอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปกรรม
ฯลฯ และโดยเหตุที่ความเสื่อมสลายของสิ่งของ ๆ ดังกล่าวข้างต้นนี้เมื่อบังเกิดขึ้นแล้ว
บางอย่างย่อมไม่สามารถที่จะฟื้นฟู หรือมาทดแทนขึ้นมาใหม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในด้านของมรดกทางวัฒนธรรม จึงเป็นการสมควรและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีนโยบาย
และมาตรการในการป้องกันการทำลายและอนุรักษ์ของทรัพยากรธรรมชาติิและศิลปกรรม
ซึ่งเป็นสมบัติของชาติไว้อย่างถูกต้องเหมาะสม และให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกด้าน

  ปัญหาของการอนุรักษ์ธรรมชาติ

1. สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอันสวยงามทั้งภูเขา หาดทราย ทะเลสาบ เกาะแก่ง แม่น้ำ
ฯลฯ กำลังเสื่อมสลายไปเป็นอันมาก

2. ขาดความสมดุลธรรมชาติ อันเนื่องมาจากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลาย
ทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลง ของระบบนิเวศและการตั้งถิ่นฐานของสัตว์ป่า และสัตว์ทะเล

3. ปริมาณของพืชป่าทั้งในเขตอนุรักษ์และนอกเขตคุ้มครองลดลงเป็นจำนวนมาก

4. สถานการณ์ด้านการประมงของประเทศอยู่ในภาวะเสื่อมลงทุกขณะปริมาณสัตว์น้ำลด
จำนวนลงและสัตว์น้ำหลายชนิดที่หายากกำลังจะสูญพันธุ์

 


ก) ไฟไหม้ป่า

(ที่มา : www.dnp.go.th/.../lesson%
202/lesson2_4.htm)


 ข) การแผ้วถางป่า

(ที่มา : www.forest.go.th/ Miyazawa/miya03.html)

 

 

 

 

 


                               รูปที่ 5.34 ปัญหาของการอนุรักษ์ธรรมชาติ

 


สาเหตุที่ต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

1. การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมโดยมิได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตาม
ธรรมชาติ ทั้งนี้เนื่องจากยังไม่มีระเบียบ และหลักในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการส่งเสริม
และอนุรักษ์ธรรมชาติ นอกจากนี้ยังขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้อง

2. มีการใช้พื้นที่ป่าไม้ทุกรูปแบบเพิ่มเติมขึ้น เช่น ความต้องการพื้นที่ทางด้านเกษตรกรรม
มากขึ้นอันเนื่องจาก การเพิ่มของจำนวนประชากร การใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับสภาพที่ดิน
ทำให้พื้นที่ป่าไม้ถูกเผาถาง

3. ความต้องการในด้านการใช้เพิ่มมากขึ้น ทำให้การลักลอบตัดไม้ เพื่อการค้าและเพื่อใช้
้สอยในครัวเรือน

4. ระบบพื้นที่คุ้มครองยังไม่กว้างขวางและรัดกุมพอ

5. มีการนำเอาพืชจากป่ามาปลูกเป็นพืชพื้นบ้านเพื่อความสวยงาม เช่น กล้วยไม้ป่า
รองเท้านารี

6. มีการลักลอบล่าสัตว์ป่าโดยมิได้คำนึงถึงชนิด ฤดู เพศหรือขนาด และมีการลักลอบค้า
สัตว์ป่าทั้งภายใน และส่งออกนอกประเทศ

7. มีการจับสัตว์น้ำมากเกินการเกิดทดแทนตามธรรมชาติ

8. ขาดกำลังเจ้าหน้าที่ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการป้องกันรักษา ตรวจตราและควบคุม

9. ยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติโดยตรง

10. การประชาสัมพันธ์และการปลูกฝังความเข้าใจในการอนุรักษ์ธรรมชาติยังไม่่มีเพียงพอ
แนวทางอนุรักษ์

   

ความสำคัญของป่าต่อการกักเก็บน้ำ

   ตามกระบวนการทางอุทกวิทยา ของลุ่มน้ำที่มีป่าปกคลุมนั้น การที่ปริมาณน้ำจะมีมาก
น้อยเพียงไร คุณภาพจะดีเลว เพียงใด และการหลากลงสู่ร่องน้ำลำธารจะเป็นไปได้อย่าง
รวดเร็วอย่างไรนั้น นักการจัดการลุ่มน้ำเชื่อว่า ป่ามีบทบาทในการกำหนดพฤติกรรมนี้อยู่
มาก ต้องมีความเข้าใจบทบาทดังกล่าวของป่าไม้ต่อลักษณะทางอุทุกวิทยาและทรัพยากร
น้ำทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพ ตลอดจนการควบคุม การไหลบ่าของน้ำดังกล่าวโดย

   บทบาทของป่าต่อปริมาณฝนที่ตกลงในพื้นที่ลุ่มน้ำ ก่อนที่น้ำฝนจะตกลงสู่พื้นที่ป่าและ
ผิวหน้าดินนั้น น้ำฝนปริมาณหนึ่งจะตกค้างอยู่บนเรือนยอดของต้นไม้ ตามความเข้าใจ
เรื่องนี้ ในเบื้องแรกนั้นสามัญสำนึกจะบอกว่าป่าใดมีีเรือนยอดแน่นทึบ ก็จะมีฝนตกค้าง
อยู่บนเรือนยอดเป็นจำนวนมาก อย่างน้อยก็มากกว่าป่าที่มีเรือนยอดโปร่ง งานวิจัยเกี่ยว
กับเรื่องนี้ในหลายท้องที่ ทั้งที่ในเขตอบอุ่นและ ในเขตร้อน ให้ผลออกมา มีทั้งเป็นไปตาม
ที่คาดหมายไว้ และผิดจากที่คาดไว้ ทั้งนี้เพราะมิใช่ว่ามีเพียง ความหนาแน่นของ เรือนยอด
เพียงปัจจัยเดียว ที่ควบคุมปริมาณน้ำ ที่ถูกยึดจับโดยเรือนยอดของต้นไม้ ความหนักเบา
ของฝน ที่ตกแต่ละครั้ง ฤดูกาลที่มีผลต่อการแตกใบและการผลัดใบของป่า ตลอดจนชนิด
และ โครงสร้างของป่า มีส่วนกำหนดปริมาณน้ำพืชยึด (intercepted water) นี้อยู่ด้วย ดังนั้นการทราบถึงปริมาณน้ำพืชยึด ของแต่ละป่า จึงเป็นจุดเริ่มต้น ในการเรียนรู้ บทบาท
ของป่าต่อการให้น้ำท่าที่สำคัญประการหนึ่ง

   การศึกษาในประเทศไทย พบว่าปริมาณฝนที่ถูกป่าสักธรรมชาติยึดไว้มีีประมาณ 63%
ของฝนที่ตกทั้งปี พอ ๆ กับป่าเต็งรัง ซึ่งจะยึดไว้ บนเรือนยอด 61% เนื่องจากป่าทั้งสอง
ชนิดนี้โครงสร้างของใบที่ใหญ่และมีขนใบมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อถึงฤดูฝนการแตก
ใบก็จะเต็มที่ ส่วนป่าดิบเขาที่ดอยปุย ซึ่งมีใบตลอดปี อยู่บนที่สูงและปริมาณฝนมากถึง
2,500 มม./ปี จะมีส่วนของฝนที่ตกค้างเรือนยอดเพียง 9% พอกับป่าดิบแล้งที่สะแกราช
นครราชสีมาซึ่งมีค่าดังกล่าวเพียง 4% เท่านั้น ป่าดงดิบชื้นในประเทศมาเลเซียสามารถ
ดูดยึดน้ำฝนไม้ บนเรือยอด ได้ประมาณ 22% การศึกษาเรื่องนี้ในป่าเขตร้อนชื้น ของ
ประเทศฟิลิปปินส์สรุปได้ว่าค่านี้มากกว่า 60% ของปริมาณน้ำฝนทั้งปี ปริมาณน้ำที่ถูกเรือน
ยอดของป่าไม้เขตร้อนยึดไว้ได้นี้ี้บางป่าก็ใกล้เคียงกับที่ตรวจวัดได้ในเขตอบอุ่นแต่บางป่า
ก็แตกต่างกันมากและน้ำฝนที่ค้างอยู่บนเรือนยอดต้นไม้นี้จะระเหยสู่บรรยากาศในที่สุด

   จากที่กล่าวจะเห็นได้ว่า ป่าใดที่ยึดจับน้ำไว้บนเรือนยอดได้มาก คือมีค่าน้ำพืชยึดสูง
ก็ย่อมปล่อยให้น้ำที่ตกทะลุผ่านเรือนยอด ผสมกับที่หยดจากเรือนยอด ซึ่งเรียกรวมกันว่า
น้ำพืชหยด (through-fall) นั่นเอง น้ำส่วนนี้จะตกลงสู่พื้นป่ารวมกับน้ำอีกส่วนหนึ่งที่ไหล
มาตามลำต้นไม้ (stem flow)ซึ่งจะเป็นปริมาณน้ำทั้งหมดที่จะมีผลต่อการให้น้ำท่าของ
ลุ่มน้ำป่าดงดิบ ทั้ง ๆ ที่มีเรือนยอดหนาทึบตลอดทั้งปี และลักษณะโครงสร้างก็สลับซับซ้อน
กว่าป่าเบญจพรรณ หรือป่าเต็งรังแต่กลับมีเปอร์เซ็นต์ที่น้ำฝนตกลงสู่พื้นป่าได้มากกว่า
หรือแม้แต่ป่าดงดิบชื้นในมาเลเซียซึ่งรกทึบมากยังมีค่าของน้ำฝนที่จะตกถึงพื้นที่ป่าได้ถึง
78% สิ่งนี้นับว่าเป็นอิทธิพลของป่าดงดิบที่เด่นประการหนึ่งในการเอื้ออำนวยน้ำท่าทั้งด้าน
ปริมาณและคุณภาพ