ถ้าเราขึ้นรถเมล์ เราจะเลือกนั่งกับคนอื่นหรือนั่งคนเดียว

กฎของฮุนด์ (Hund’s Rule)

ฮุนด์(Frederick Hund)        

“การบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานเท่ากัน(degenerate orbitals)
ให้บรรจุอิเล็กตรอนที่มี
ms = +1/2(สปินขึ้น) ทุกออร์บิทัลก่อน
แล้วจึงเติม
อิเล็กตรอนที่มี ms = -1/2(สปินลง) ”

               เปรียบได้กับการขึ้นรถเมล์ ถ้าเราสังเกตจะพบว่า เมื่อเราขึ้นรถเมล์ ส่วนมากแล้วจะเลือกที่นั่งคนเดียว ไม่ไปนั่งกับคนอื่น อิเล็กตรอนก็เช่นกัน มันจะอยู่เดี่ยว ๆ จนเต็มเสียก่อน จึงค่อยเข้าคู่กัน
               หลักการคือเราให้ แทนอิเล็กตรอนที่มี ms = +1/2(สปินขึ้น) และ แทนอิเล็กตรอนที่มี ms = -1/2(สปินลง)

                    s มี 1 ออร์บิทัล 2 อิเล็กตรอน

                         ลำดับที่ 1เติมอิเล็กตรอนเดี่ยวสปินขึ้น
                         ลำดับที่ 2 เติมอิเล็กตรอนเดี่ยวสปินลง

                    p มี 3 ออร์บิทัล 6 อิเล็กตรอน

                         ลำดับที่ 1 เติมอิเล็กตรอนเดี่ยวสปินขึ้นในออร์บิทัลแรก
                         ลำดับที่ 2 เติมอิเล็กตรอนเดี่ยวสปินขึ้นในออร์บิทัลที่สอง
                         ลำดับที่ 3 เติมอิเล็กตรอนเดี่ยวสปินขึ้นในออร์บิทัลที่สาม
                         ลำดับที่ 4 เติมอิเล็กตรอนเดี่ยวสปินลงในออร์บิทัลแรก
                         ลำดับที่ 5 เติมอิเล็กตรอนเดี่ยวสปินลงในออร์บิทัลที่สอง
                         ลำดับที่ 6 เติมอิเล็กตรอนเดี่ยวสปินลงในออร์บิทัลที่สาม

                    ลองบรรจุอิเล็กตรอนใน d ออร์บิทัลและ f ออร์บิทัล แล้วดูเฉลย

          การจัดเรียงอิเล็กตรอนที่ไม่เป็นไปตามกฎของฮุนด์

                  มีธาตุ 9 ธาตุที่จัดเรียงอิเล็กตรอนไม่เป็นไปตามกฎของฮุนด์ เพราะถ้าจัดเรียงตามกฎของฮุนด์แล้ว จะขัดกับผลการทดสอบสมบัติทางแม่เหล็ก ดังตาราง

ธาตุ
เลขอะตอม
การจัดเรียงอิเล็กตรอน
ตามกฎของฮุนด์
การจัดเรียงอิเล็กตรอน
ให้สอดคล้องกับสมบัติแม่เหล็ก
Cr
24
[Ar] 3d4 4s2 [Ar] 3d5 4s1
Cu
29
[Ar] 3d9 4s2 [Ar] 3d10 4s1
Mo
42
[Kr] 4d4 4s2 [Kr] 4d5 4s1
Pd
46
[Kr] 4d8 4s2 [Kr] 4d10
Ag
47
[Kr] 4d9 4s2 [Kr] 4d10 5s1
La
57
[Xe] 4f1 6s2 [Xe] 5d1 6s2
Pt
78
[Xe] 4f14 5d8 6s2 [Xe] 4f14 5d9 6s1
Au
79
[Xe] 4f14 5d9 6s2 [Xe] 4f14 5d10 6s1
Ac
89
[Rn] 5f1 7s2 [Rn] 6d1 7s2

                  การจัดเรียงของอิเล็กตรอนในออร์บิทัลต่างๆ มีผลต่อสมบัติความเป็นแม่เหล็กของอะตอม
                    อะตอมมีอิเล็กตรอนบรรจุในออร์บิทัลเป็นเลขคู่ทั้งหมด จะทำให้เป็นสารที่ผลักสนามแม่เหล็ก เรียกสารประเภทนี้ว่า diamagnetic”   
                    อะตอมมีอิเล็กตรอนเดี่ยวในออร์บิทัล จะมีอำนาจดึงดูดสนามแม่เหล็กเรียกว่าสาร “paramagnetic” และอำนาจการดึงดูดจะมาก เมื่อจำนวนอิเล็กตรอนเดี่ยวมากขึ้น