ความหมาย

    
ปิเปตต์ เป็นหลอดแก้วใส ยาว ปลายเปิด ใช้สำหรับถ่ายเทของเหลวตามปริมาตรที่ต้องการอย่างละเอียดและมีความถูกต้องมากกว่ากระบอกตวง

ประเภท

     ปิเปตต์ ที่มีใช้อยู่ในห้องปฏิบัติการมีอยู่ 2 แบบ คือ
          1. ปิเปตต์แบบปริมาตร (volumetric pipette)
          2. ปิเปตต์แบบใช้ตวง (graduated pipette)

     ในปัจจุบัน จำเป็นต้องวิเคราะห์สารในปริมาณน้อย ๆ ดังนั้นปิเปตต์อีกประเภทที่ำนิยมใช้คือ

          3. ไมโครปิเปตต์ (micropipette)

     1. ปิเปตต์แบบปริมาตร (volumetric pipette หรือ transfer pipette))

          มีขีดบอกปริมาตรที่แน่นอนเพียงขีดเดียว ดังนั้นจึงวัดปริมาตรได้เพียงค่าเดียว เช่น volumetric pipette ที่มีความจุ 10 ml ก็จะวัดปริมาตรของของเหลวได้เฉพาะ 10 ml เท่านั้น
          มีหลายขนาดตั้งแต่ 1 ml ถึง 100 ml
          ใช้วัดปริมาตรได้ใกล้เคียงความจริง แต่ก็ยังมีความผิดพลาดขึ้นอยู่กับความจุของปิเปตต์และระดับคุณภาพ

ความจุ (ml)
ระดับชั้นคุณภาพ A (±ml)
ระดับชั้นคุณภาพ B (±ml)
2
0.006
0.0012
5
0.01
0.02
10
0.02
0.04
25
0.03
0.06
50
0.05
0.10

                    ข้อมูลจาก: Annual Book of ASTM standards, E969, Standard Specification for Glass Volumetric (Transfer) Pipets, 14, 04, 2004.

               ปิเปตต์ที่มีความจุมากมีความผิดพลาดมากกว่าปิเปตต์ที่มีความจุน้อย
               ปิเปตต์ระดับชั้นคุณภาพ B มีความผิดพลาดมากกว่าระดับชั้นคุณภาพ A ถึง 2 เท่า
ดังนั้นในการทดลองที่ต้องการความแม่นยำสูง จึงควรเลือกใช้ปิเปตต์ระดับชั้นคุณภาพ A


          ส่วนประกอบ

              เกร็ดน่ารู้

                    B คืออะไร
                    Ex = ?
                    blow-out pipette หมายถึงอะไร

          ขั้นตอนการใช้งาน

     2. ปิเปตต์แบบใช้ตวง (graduated pipette หรือ measuring pipette)

          มีขีดบอกปริมาตรต่าง ๆ แสดงไว้ ทำให้สามารถใช้ได้อย่างกว้างขวาง คือสามารถใช้แทน volumetric pipette ได้ แต่ใช้วัดปริมาตรได้แน่นอนน้อยกว่า volumetric pipette นั่นคือมีความผิดพลาดมากกว่า
          ความผิดพลาดขึ้นอยู่กับความจุของปิเปตต์และระดับคุณภาพ

ความจุ (ml)
ระดับชั้นคุณภาพ A (±ml)
ระดับชั้นคุณภาพ B (±ml)
2
0.01
0.02
5
0.02
0.04
10
0.03
0.06
25
0.05
0.10
50
...
0.16

                    ข้อมูลจาก: Annual Book of ASTM standards, E1293, Standard Specification for Glass Measuring Pipets, 14, 04, 2004.

               ปิเปตต์ที่มีความจุมากมีความผิดพลาดมากกว่าปิเปตต์ที่มีความจุน้อย
               ปิเปตต์ระดับชั้นคุณภาพ B มีความผิดพลาดมากกว่าระดับชั้นคุณภาพ A ถึง 2 เท่า ดังนั้นในการทดลองที่ต้องการความแม่นยำสูง จึงควรเลือกใช้ปิเปตต์ระดับชั้นคุณภาพ A
               ที่ความจุเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบความผิดพลาดระหว่าง graduated pipette กับ volumetric pipette จะเห็นว่า graduated pipette มีความผิดพลาดเป็น 2 เท่าของ volumetric pipette ดังนั้น ในการทดลองที่ต้องการความแม่นยำสูง จึงควรเลือกใช้ volumetric pipette จะดีกว่า

          ขั้นตอนการใช้งาน

     3. micropipette
         
ใช้สำหรับปิเปตต์สารละลายที่มีปริมาตรน้อยๆ ซึ่งมีหลายขนาด

รุ่น
ช่วงปริมาตรที่สามารถปิเปตต์ได้

P2
P10
P20
P100
P200
P1000
P5000
P10ml

0.1 - 2 µl
0.5 - 10 µl
2 - 20 µl
20 - 100 µl
30 - 200 µl
200 - 1000 µl
1 - 5 ml
1 - 10 ml

          ส่วนประกอบ

          การอ่านปริมาตร ขึ้นอยู่กับรุ่นของไมโครปิเปตต์ ตัวอย่างเช่น

           
         
ขั้นตอนการใช้งาน

ข้อควรระวัง
     - ควรเช็ดปิเปตต์ก่อนปรับปริมาตร
     - เราควรเช็คว่าปิเปตต์ตั้งตรงหรือไม่ ในขณะที่ทำการทดลองเพื่อความถูกต้อง โดยเทียบปิเปตต์กับสิ่งที่ตั้งฉาก 2 อย่าง
     - ไม่ควรใช้ปากดูดสารละลาย เพราะสารละลายมีพิษ เป็นกรดแก่ เบสแก่ ควรใช้ลูกยางดูด
     - ระวังอย่าให้มีฟองอากาศบริเวณปลายปิเปตต์
     - ห้ามเขย่า เป่าหรือเคาะปิเปตต์กับข้างภาชนะรองรับเป็นอันขาด ถึงแม้จะเห็นว่ายังมีของเหลวติดค้างอยู่ที่ปลายปิเปตต์เล็กน้อยก็ตาม มิฉะนั้นปริมาตรของสารละลายที่ถ่ายออกจากปิเปตต์อาจผิดพลาดได้