องค์ประกอบหลักและการจัดเรียงอุปกรณ์ภายในเครื่องสเปกโทรฟลูออโรมิเตอร์
จะคล้ายกับภายในเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ แตกต่างกันตรงที่
 เครื่องสเปกโทรฟลูออโรมิเตอร์ จะมีส่วนแยกความยาวคลื่น 2 ตัวคือ
      ส่วนแยกความยาวคลื่นที่ใช้ในการกระตุ้นโมเลกุลของสารละลาย (excitation monochromator) และส่วนแยกความยาวคลื่นแสงฟลูออเรสเซนต์ที่โมเลกุลของ
สารละลายคายออกมา (excitation monochromator)
      ส่วนเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์จะมี monochromator ตัวเดียวทำหน้าที่เลือก
ความยาวคลื่นที่เราต้องการผ่านเข้าไปสู่สารละลาย
 การจัดวางเครื่องมือในเครื่องสเปกโทรฟลูออโรมิเตอร์ จะจัดวางให้ช่องแสงเข้า
อยู่ในทิศตั้งฉากกับช่องแสงออก เนื่องจากป้องกันไม่ให้มีแสงจากแหล่งกำเนิดแสงไป
ตกกระทบที่ตัวตรวจวัด เพราะเราต้องการวัดเฉพาะแสงฟลูออเรสเซนต์ที่สารคายออก
มาเท่านั้น

     ส่วนเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์นั้นจะวางช่องแสงเข้าและออกในแนวเดียวกัน
เพื่อวัดปริมาณแสงจากแหล่งกำเนิดแสงที่ถูกดูดกลืนไปเมื่อวางสารละลายขวางทาง
เดินของแสง

 
องค์ประกอบภายในเครื่องสเปกโทรฟลูออโรมิเตอร์
 
1. แหล่งกำเนิดแสง (light source)
   
     แหล่งกำเนิดแสงภายในเครื่องสเปกโทรฟลูออโรมิเตอร์จะต้องมีความเข้มแสงสูง
เนื่องจากความเข้มของแสงมีผลต่อการกระตุ้นจำนวนโมเลกุลให้ขึ้นไปที่สภาวะเร้า
ในปัจจุบันแหล่งกำเนิดแสงที่นิยมใช้ในเครื่องสเปกโทรฟลูออโรมิเตอร์จะเป็นเลเซอร์
ซึ่งสามารถให้ความยาวคลื่นแสงได้ตั้งแต่ 300-600 nm
 
2. ส่วนแยกความยาวคลื่น (excitation and emission monochromator)
     

     ส่วนแยกความยาวคลื่นที่ใช้ในการกระตุ้น (excitation monochromator)
มีหน้าที่เลือก ความยาวคลื่นที่เราต้องการใช้สำหรับการกระตุ้นโมเลกุลให้ขึ้นไปอยู่ในสภาวะเร้า
     ส่วนแยกความยาวคลื่นแสงฟลูออเรสเซนต์ที่โมเลกุลของสารคายแสงออกมา (emisstion monochromator) มีหน้าที่เลือกเฉพาะความยาวคลื่นแสงฟลูออเรสเซนต์
ที่เราต้องการจะวัด

 
3. ภาชนะใส่สารละลาย (cell หรือ cuvette)
 
     เป็นคิวเวทท์ที่ทำจากควอทซ์และมีด้านใสทั้งสี่ด้าน เพื่อให้แสงกระตุ้นผ่านเข้ามา
แล้ววัดแสงฟลูออเรสเซนต์ที่ออกมาในแนวตั้งฉาก (90 องศา)
 
4. ตัวตรวจวัดหรือดีเทคเตอร์ (detector)
 
     แสงฟลูออเรสเซนต์ที่โมเลกุลของสารคายออกมาจะอยู่ในช่วงอัลตราไวโอเลตหรือช่วงแสงที่เห็นได้อยู่แล้ว
ดังนั้นตัวตรวจวัดจึงใช้แบบเดียวกับในเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ได้เลย
แต่แสงฟลูออเรสเซนต์จะมีความเข้มต่ำมาก ดังนั้นจำเป็นต้องมีตัวขยายสัญญาณ
(amplifier) จำนวนมาก
 
5. ตัวบันทึกสัญญาณ (recorder)
 
     ทำหน้าที่แปรผลสัญญาณอิเล็กทรอนิกให้ออกมาอยู่ในรูปตัวเลขหรือดิจิทัล
 

     ตัวอย่าง
เครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์รุ่น FP-6000 Series

                        
              
                    เครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์รุ่น F-4500, Hitachi