กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง

 


          นับแต่โลกถือกำเนิดขึ้นมาก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาจนแม้ปัจจุบัน   จึงกล่าวได้ว่าโลกเป็น “พลวัต” (dynamic)   มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนโลกอาจ แบ่งออกเป็น 2 กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในโลก (internal processes) และกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก (superficial processes) ซึ่งทั้งสองกระบวนการนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันและส่งผลต่อลักษณะธรณีสันฐาน ภูมิลักษณ์ ตลอดจนทรัพยากรธรณีที่เกิดขึ้นและแผ่กระจายบนพื้นผิวโลก

 

 

-ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด
-แผ่นธรณีภาคหรือแผ่นเปลือกโลก (plates) เคลื่อนที่ได้อย่างไร

-กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลกและบนผิวโลก แตกต่างกันอย่างไร

 

 


         กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน (internal processes) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในโลกแล้วส่งผลกระทบออกมาสู่พื้นผิวโลก เช่น การขับเคลื่อนตัวของแผ่นธรณีภาค แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น
         
        กล่าวคือ เมื่อความร้อนไหลวนจากแมกมาส่วนที่อยู่ลึกขึ้นสู่ที่สูงจนมาถึงส่วนผิวของแมกมาที่อยู่ใต้แผ่นธรณีภาคจะเกิดการกระจายความ ร้อนและในขณะเดียวกันความร้อนนั้นและแรงดันทำให้พื้นผิวที่เป็นเหมือนฝาครอบอยู่นั้นปริและแตกออกเกิดเป็นเขตแยกตัว (divergent zone) ส่วนที่วงจรการพาความร้อนสองแนวหมุนวนมาเจอกันจะทำให้วัตถุที่เย็นกว่าจมลงไปทำให้เกิดแรงลอยตัว มีวัตถุลอยอยู่บนแมกมา ได้บริเวณที่แนวการพาความร้อนมาปะทะกันเรียกว่าขอบเขตของการรวมตัว (convergent zone) เขตรอยต่อของแผ่นธรณีภาคส่วนใหญ่จะถูกควบคุมโดยกระบวนการไหลวนของความร้อนในชั้นเนื้อโลก  ทั้งขอบเขตแบบแยกตัวและรวมตัวการไหลวนของความร้อนในรูปแบบของการแยกตัวทำให้แผ่นดินหรือพื้นทวีปแยกออกเป็นร่องหรือเป็นแนวทรุดซึ่งเป็นช่องทางให้แมกมาไหลแทรกขึ้นมาเป็นหินบะซอลต์และ ถ้ารอยแตกนั้นขยายกว้างออกไปทำให้หินบะซอลต์แทรกขึ้นมาตามร่องทรุดนั้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นพื้นมหาสมุทรรุ่นใหม่


      การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค (plate tectonics) ที่ทราบกันดีว่าโลกไม่ได้หยุดนิ่ง เนื่องจากมีแรงกระทำต่อใต้พื้นผิวโลกเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยมีทั้งการเพิ่มพูนพื้นที่ และการสูญเสียพื้นที่ ทั้งนี้เพราะส่วนบนของโลก ประกอบด้วยแผ่นธรณีภาค (plate) ที่ประกอบด้วยชั้นเปลือกโลกและส่วนบนของชั้นเนื้อโลกตอนบนที่เรียกว่าลิโธสเฟีย (lithosphere) หลายแผ่น แผ่นธรณีภาคเหล่านี้ถูกขับเคลื่อนเบื้องแรกจากแรงไหลทะลักขึ้นมาของหินหลอมเหลวร้อน (magma และ lava) แผ่นธรณีภาคมีการเคลื่อนที่สัมพันธ์กันได้หลายรูปแบบจึงมีรอยต่อระหว่างแผ่นธรณีภาคที่แตกต่างกัน


         จากการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา พบว่า หินบริเวณตรงกลางแนวสันเขาใต้น้ำกลางทะเลเป็นหินบะซอลต์ใหม่ มีอายุน้อยกว่าหินที่อยู่ในแนวถัดออกไป จึงมีการตั้งทฤษฎีของแนวสันเขากลางมหาสมุทรว่าเป็นรอยแตกกึ่งกลางมหาสมุทร ซึ่งเป็นรอยแตกของแผ่นเปลือกโลกที่ถูกแรงดันจากหินหนืดภายในเปลือกโลกดันออกจากกันทีละน้อยรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกจึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกต่างๆได้


 


ภาพที่ 1.1 แมกมาใต้เปลือกโลกถูกความร้อน
และแรงดันดินขั้นมา ทำให้แผ่นดินโก่งตัว

 


ภาพที่ 1.2 เกิดเป็นลักษณะหุบเขาทรุด

 


ภาพที่ 1.3 เป็นผลให้เกิดเป็นทะเลขึ้นมา

 


ภาพที่ 1.4 เกิดเทือกเขากลางมหาสมุทร
เกิดขึ้นพร้อมกับหุบเขาทรุด
           แนวขอบของแผ่นธรณีภาคที่แยกออกจากกัน อันเนื่องมาจากการดันตัวของแมกมาในชั้นธรณีภาค (ภาพที่ 1.1) ทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหินแข็ง จนแมกมาสามารถถ่ายโอนความร้อน สู่ชั้นเปลือกโลกได้ หลังจากนั้น อุณหภูมิ และความดันของแมกมาจึงลดลง เป็นผลให้เปลือกโลกตอนบนทรุดตัวกลายเป็นหุบเขาทรุด (ภาพที่ 1.2)

           ในระยะเวลาต่อมา เมื่อมีน้ำสะสมเกิดเป็นทะเล (ภาพที่ 1.3) และเป็นรอยแตกจนเป็นร่องลึก เมื่อแมกมาเคลื่อนตัวแทรกขึ้นมาตามรอยแตก จะทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรเคลื่อนตัวแยกออกไปทั้งสองข้าง พื้นทะเลจะขยายกว้างออกไปทั้งสองด้าน เรียกกระบวนการนี้ว่า การขยายตัวของพื้นทะเล (sea floor spreading) และกลายเป็นแนวเทือกเขาและหุบเขากลางมหาสมุทรขึ้น (ภาพที่ 1.4)

 

       เปลือกโลกของเราประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก (plate) จำนวนประมาณ 12 แผ่นใหญ่ ทั้งที่เป็นแผ่นมหาสมุทรและแผ่นทวีป ซึ่งมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา บางแนวมีการเคลื่อนแยกออกจากกัน บางแผ่นเคลื่อนเข้าหา และมุดซ้อนเกยกัน และบางแผ่นเคลื่อนเฉียดกันอันเป็นบ่อเกิดของแรงเครียดที่สะสมไว้ภายในเปลือกโลก

 

 

-จงบอกความแตกต่างระหว่างแผ่นธรณีภาค แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด แมนเทิล และแก่นโลก
-plate boundaries หมายถึงอะไร
-มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิด plate boundaries