แร่รัตนชาติ (gemstones) หมายถึง แร่หรือสารอนินทรีย์ที่เกิดตามธรรมชาติ ที่ถือเป็นสิ่งมีค่า ใช้เป็นเครื่องประดับ มีสมบัติคือ คงทน หายาก สวยงาม และมีราคาสูง ได้แก่ อัญมณี เพชร พลอย หินสีต่างๆ แร่รัตนชาติเหล่านี้จะใช้เวลาในการเกิดหลายล้านปี จึงทำให้แร่เหล่านี้มีค่าราคาสูง

 

การกำเนิดแร่รัตนชาติ


          แร่ เกิดร่วมกับหิน หินแต่ละชนิดจึงอาจเป็นต้นกำเนิดของแร่รัตนชาติหลายๆ ชนิดได้ รัตนชาติที่สำคัญของโลกได้แก่ เพชร ทับทิม ไพลิน ฯลฯ ที่พบกันมากมักจะเป็นแหล่งแร่ที่สะสมตัวแบบหินตะกอน หรือแหล่งสะสมแบบลานแร่ แหล่งกำเนิดรัตนชาติที่สำคัญรองลงมาได้แก่ ในสายเพกมาไทต์ ซึ่งมักเป็นแร่ที่ให้กำเนิดผลึกแร่ หรือผลึกรัตนชาติที่มีขนาดใหญ่ ที่พบมากได้แก่ ทัวร์มาลีน เบริล โทแพซ ควอตซ์ เฟลด์สปาร์  เป็นต้น นอกจากนี้ รัตนชาติบางชนิดยังสามารถพบได้ในหินแปรซึ่งมักเป็นรัตนชาติที่ค่อนข้างหายาก  เช่น  หยก  ทับทิม  ไพลิน การ์เนต  เป็นต้น

 

          แหล่งที่พบแร่รัตนชาติที่สำคัญโดยสรุปไว้ดังต่อไปนี้

 

ชนิดแร่และชนิดรัตนชาติ
แหล่งสำคัญที่พบ
เพชร (C)   ออสเตรเลีย ซาอีร์ แอฟริกาใต้ นามีเบีย บอสวานา รัสเซีย บราซิล จีน
คอรันดัม (Al2O3) - ทับทิม พม่า เวียดนาม แทนซาเนีย เคนยา ศรีลังกา อัฟกานิสถาน ไทย ปากีสถาน กัมพูชา
- แซปไฟร์ ออสเตรเลีย พม่า กัมพูชา ศรีลังกา เคนยา แทนซาเนีย สหรัฐอเมริกา ไทย เวียดนาม อินเดีย


ภาพที่ 2.18 คอรันดัม

เบริล (Be3Al2Si6O18) - อะความารีน บราซิล มาดากัสกา สหรัฐอเมริกา นามีเบีย แซมเบีย ไนจีเรีย รัสเซีย
- มรกต โคลัมเบีย บราซิล ปากีสถาน รัฐเซีย แซมเบีย ซิมบับเว แทนซาเนีย อินเดีย ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้
- เบริลสีกุหลาบ บราซิล มาดากัสกา สหรัฐอเมริกา
- เบริลสีทอง บราซิล มาดากัสกา นามีเบีย รัสเซีย


ภาพที่ 2.19 เบริล

คริโซเบริล (SiO2) - เจ้าสามสี ศรีลังกา พม่า บราซิล รัสเซีย ซิมบับเว
- เพชรตาแมวและชนิดสีอื่นๆ ศรีลังกา บราซิล พม่า มาดากัสกา รัสเซีย ซิมบับเว


ภาพที่ 2.20 คริโซเบริล

เฟลด์สปาร์ (K,N,Ca)(Al,Si)Si2O8 - มุกดาหาร ศรีลังกา พม่า อินเดีย
- แลบราดอไรต์ แคนาดา สหรัฐอเมริกา


ภาพที่ 2.21เฟลด์สปาร์

การ์เนต ((Mn,Mg,Fe+2,Ca)3(Al,Cr,Mn+3,Fe+3,V+3)2(SiO4)3) - แอลมันไดต์ ออสเตรีย บราซิล ศรีลังกา อินเดีย
- แอนดราไดต์ สวิสเซอร์แลนด์ รัสเซีย อิตาลี
- กรอสซูลาไรต์ เคนยา แทนซาเนีย ศรีลังกา
- โรโดไลต์ ศรีลังกา แอฟริกาตะวันออก
- ไพโรป แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา
- สเปสซาร์ไทต์ บราซิล ศรีลังกา สหรัฐอเมริกา


ภาพที่ 2.22 การ์เนต

หยก NaAl(SiO3)2 - หยกเจไดต์ พม่า
- หยกเนไพรต์ ใต้หวัน นิวซีแลนด์ แคนาดา ออสเตรเลีย รัสเซีย สหรัฐอเมริกา


ภาพที่ 2.23 หยก

โอปอล (SiO2 •nH2O)   ออสเตรเลีย


ภาพที่ 2.24 โอปอ

ไข่มุก - ไข่มุกธรรมชาติ อ่าวเปอร์เซีย ศรีลังกา ออสเตรเลีย เม็กซิโก ปานามา ทะเลแดง ตาฮิติ เวนเนซูเอลา
- ไข่มุกเลี้ยง ญี่ปุ่น จีน ทะเลใต้ ตาฮิติ สหรัฐอเมริกา


ภาพที่ 2.25 ไข่มุก

ควอตซ์ (SiO2) - แอเมทิสต์ บราซิล นามิเบีย แซมเบีย อุรุกวัย
- อะเวนจูรีน บราซิล
- แก้วตาเสือ แอฟริกาใต้ อินเดีย ศรีลังกา


ภาพที่ 2.26 แอเมทิสต์

สปิเนล (Mg,Fe,Mn,Zn)Al2O4   พม่า ศรีลังกา กัมพูชา ไทย รัสเซีย


ภาพที่ 2.27 สปิเนล

โทแพซ
(Al2SiO4(OH,F)2)
  บราซิล ปากีสถาน
ทัวร์มาลีน (Na(Mg,Fe+2,Mn,Li,Al)3Al6•(BO3)3Si6O18(OH,F)4   บราซิล อัฟกานิสถาน สหรัฐอเมริกา
เซอร์คอน (ZnSiO4)   กัมพูชา ไทย ศรีลังกา พม่า


ภาพที่ 2.28 เซอร์คอน

เอพิโดต (Mg,Fe)2SiO4 - แทนซาไนต์ แทนซาเนีย

 



ภาพที่ 2.29 เอพิโดต

ที่มา : เอกสารกรมทรัพยากรธรณี เรื่อง สาระน่ารู้เรื่องรัตนชาติ