มลพิษทางอากาศ

        สามารถแบ่งออกเป็น 3 แหล่งใหญ่ๆ ดังนี้

      1. แหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม  การจราจร  การเผาขยะมูลฝอย การผลิตพลังงานไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงภายในบ้าน ฯลฯ

      2. แหล่งธรรมชาติ  ได้แก่  การระเบิดของภูเขาไฟ  ไฟไหม้ป่า  การเน่าเปื่อย  การหมัก การปลิวกระจายของดิน ฯลฯ

      3.  แหล่งกำเนิดอื่นๆ  ได้แก่  แหล่งที่เกิดปัญหามลพิษทางอากาศจากการรวมตัวทางปฏิกิริยาเคมีจากแหล่งต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการรวมตัวทางเคมี  เช่น  การเกิดปฏิกิริยา photochemical  smog  ฝนกรด อนุภาคซัลเฟตและไนเตรท โดยทั่วไป

  แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่สำคัญของประเทศไทยอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

ก. แหล่งกำเนิดจากยานพาหนะ
            ปัญหานี้เป็นมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการจราจรเป็นสำคัญซึ่งจะให้  ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน  สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์  รวมทั้งฝุ่นละอองขนาดเล็กและ สารตะกั่ว


รูปที่ 2.4 มลพิษจากยานพาหนะ


ข. แหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม
         มลพิษทางอากาศจากแหล่ง  กำเนิดอุตสาหกรรมโดยส่วนมากเกิด จากกระบวนการผลิตเช่น  จากการระเหยของก๊าซบางชนิด  ซึ่งเกิดจากขยะมูลฝอยและของเสีย เป็นต้น ซึ่งเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในการเผาไหม้และในกระบวนการผลิต นั้น มี 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
         • เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง
         • เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล
         • เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซ LPG


รูปที่ 2.5 มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม


และสิ่งที่ตามมาจากแหล่งกำเนิดดังกล่าว คือ สารมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน

          นอกจากนี้มลพิษอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละอองจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น พายุ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว หรือ ไฟไหม้ป่า