จุดที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือ เอนไซม์ไนโตรจีเนส จะว่องไวต่อออกซิเจน เนื่องจากทำปฏิกิริยาได้กับสารประกอบของเหล็กในโปรตีน ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ใช่ปัญหาสำหรับแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน แต่มันเป็นปัญหาหลักของสำหรับแบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจน เช่น ไซยาโนแบคทีเรีย สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีวิธีที่จะแก้ปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น Azetobacter  ssp.มีอัตราการหายใจสูง ซึ่งมันจะต้องป้องกันเอนไซม์ไนโตรจีเนส โดยการทำให้ระดับออกซิเจนในเซลล์ต่ำ และยังสร้างสารพอลีแซคคาไรด์เพื่อมาห่อหุ้มเซลล์ด้านนอก เพื่อการเก็บน้ำในชั้นของพอลีแซคคาไรด์แบคทีเรียจึงสามารถกำหนดอัตราการแพร่ของออกซิเจนไปยังเซลล์ ในสิ่งมีชีวิตที่อาศัยร่วมกันเพื่อตรึงไนโตรเจน เช่น ไรโซเบียม ซึ่งอยู่ในปมรากถั่วที่บรรจุโมเลกุลที่สามารถไล่ออกซิเจนได้ เช่น เลกเฮโมโกลบิน (leghaemoglobin) จะสามารถสังเกตเห็นได้เมื่อตัดรากถั่วเป็นสีชมพู เมื่อเกิดการตรึงไนโตรเจน ทำหน้าที่ควบคุมการขนส่งออกซิเจนยังปมรากถั่วเช่นเดียวกับเฮโมโกลบินที่ขนส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อของสัตว์ต่างๆ

         

leghaemoglobin

 

กลไกการตรึงไนโตรเจน

 

กลไกของการตรึงไนโตรเจน

        แหล่งของอิเล็กตรอนที่ใช้มาจาก เฟอร์ริดอกซิน ในรูปรีดิวซ์ (จากรูปกลไกการตรึงไนโตรเจน อิเล็กตรอน คือ โมเลกุลสีน้ำเงิน) ขึ้นอยู่กับชนิดของแบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนปัจจัยสำคัญที่ตรึงไนโตรเจนจากบรรยากาศ ได้แก่ เอนไซม์ ไนโตรจีเนส ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นโปรตีนที่มีธาตุเหล็ก (Fe-protien) ซึ่งมีสองหน่วยย่อย ส่วนที่สองเป็นโปรตีนที่มีทั้งธาตุเหล็กและโมลิบดินัม (MoFe-protien) ส่วนนี้มี 4 ส่วนย่อย ส่วนแรกจะทำหน้าที่รับอิเล็กตรอน (โมเลกุลสีแดง) และสลาย ATP เพื่อผลักดันอิเล็กตรอนให้แก่ส่วนที่ 2 โดยที่ 2 อิเล็กตรอนจะสามารถรีดิวซ์ให้ได้ไฮโดรเจนไอออน 2 ตัวด้วย (โมเลกุลสีเขียว) ซึ่งทำหน้าที่รีดิวซ์ไนโตรเจนให้เป็นไดอิมีน HN=NH จากนั้นกลไกการเกิดก็จะซ้ำขั้นตอนแรกโดยรับอิเล็กตรอนมาจากเฟอร์ริดอกซิน จนกระทั่ง รีดิวซ์ไดอิมีน HN=NH ไปเป็น ไฮดราซีน H2N-NH2 กระบวนการก็จะเกิดวนซ้ำ จนกระทั่งรีดิวซ์ H2N-NH2 ไปเป็นแอมโมเนีย 2 โมเลกุล รวมแล้วทั้งกระบวนการตรึงไนโตรเจนจะใช้อิเล็กตรอนทั้งหมด 8 ตัว โดยใช้ 6 ตัวในกระบวนการรีดักชันจากไนโตรเจนเป็นแอมโมเนีย และ อิเล็กตรอนอีก 2 ตัวใช้ในการรีดิวซ์ไฮโดรเจน   แอมโมเนียที่สังเคราะห์ได้จะเข้าสู่เมแทบอลิซึมของกรดอะมิโน และกรดนิวคลีอิกเป็นส่วนใหญ่ สมการรวมในการตรึงไนโตรเจนคือ

ปฏิกิริยารีดักชัน         :
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน  :
ปฏิกิริยารีดอกซ์         :

       จากการศึกษาพบว่าเอนไซม์ไนโตรจีเนสไม่เพียงสามารถรีดิวซ์ไนโตรเจนให้เป็นแอมโมเนียเท่านั้น ยังสามารถรีดิวซ์โปรตรอนให้เป็นแก๊สไฮโดรเจนได้ แสดงว่าเอนไซม์มีความจำเพาะเจาะจงต่อซับสเตรตค่อนข้างน้อย จึงทำให้สารอื่นๆ ที่มีขนาดเท่าๆ กับไนโตรเจน (N2) สามารถถูกรีดิวซ์ได้ ดังสมการ