ร่างกายรู้ได้อย่างไรว่าต้องผลิตฮอร์โมนออกมาเมื่อไร ?

การควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนมี 4 วิธี คือ

1. การหลั่งฮอร์โมนตามปริมาณการใช้

2. การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบยับยั้งย้อนกลับ

3. การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบกระตุ้นย้อนกลับ

4. การควบคุมโดยระบบประสาท

ฮอร์โมนจะหลั่งออกมาเมื่อมีความต้องการใช้ เซลล์ของต่อมไร้ท่อจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงของสารในกระแสเลือด หรือความเข้มข้นของฮอร์โมนในกระแสเลือด เฉพาะเจาะจงต่ออวัยวะเป้าหมายเท่านั้น ซึ่งตัวกระตุ้นเหล่านี้ อาจจะมีจำนวนมากแล้วกระตุ้น ให้ฮอร์โมนหยุดการทำงาน เช่นถ้าร่างกายมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง จะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา หรือถ้าร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนกลูคากอนออกมาทำงาน ซึ่งแล้วแต่การทำงานของฮอร์โมนแต่ละตัว

การหลั่งของฮอร์โมนต้องสัมพันธ์กับการสร้าง เพราะจะได้มีการสร้างฮอร์โมนใหม่ ให้มาทดแทนที่ถูกหลั่งออกไป เมื่อเซลล์ถูกกระตุ้นแรงๆ จะมีการหลั่งสองลักษณะ (biphasic) คือมีการหลั่งอย่างรวดเร็วในระยะแรก แล้วหลั่งน้อยลง แต่นานกว่าในช่วงหลัง พร้อมทั้งมีการสร้างโปรตีนเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น อัตราการหลั่งของฮอร์โมน จึงมีลักษณะขึ้นๆ ลงๆ เป็นช่วงๆ (pulsatile) มีหลายแบบดังนี้

1. การหลั่งเป็นช่วงๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง (circhoral) เช่น ฮอร์โมนเพศ

การหลั่งของลูทีไนซิ่งฮอร์โมนที่หลั่งเป็นจังหวะในรอบ 1 วัน

 

2. การหลั่งขึ้นลงนานกว่าชั่วโมงแต่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง (ultradian)

3. การหลั่งเปลี่ยนแปลงทุกวันโดยมีระดับสูงที่เวลาเดียวกันทุกวัน (diurnal) เช่นฮอร์โมน ACTH ที่หลั่งออกมาสูงช่วงเช้ามืดของทุกวัน

          4.การหลั่งแต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง (circadian) เช่นโกรทฮอร์โมนจะหลั่งขณะที่นอนหลับสนิท

5. การหลั่งขึ้นอยู่กับช่วงเวลาประมาณ 1 ปี/หรือฤดูกาล (circannnual/seasonal) เช่นระดับสูงสุดของโกนาโดโทรปิน ในช่วงก่อนตกไข่ทุก 28 วันและขึ้นลงตามฤดูกาลได้

การหลั่งของโกรทฮอร์โมนซึ่งจะหลั่งภายหลังหลับสนิทซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นรอบภายใน 24 ชั่วโมง

UP

 

การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบยับยั้งย้อนกลับ (negative feedback ) เป็นรูปแบบการควบคุมที่ใช้มาก คือการที่ฮอร์โมนหรือผลของฮอร์โมนนั้น บอกสัญญาณไปยังต่อมไร้ท่อให้หลั่งฮอร์โมนน้อยลง เช่น การทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน เมื่อระดับของกลูโคสในกระแสเลือดมาก ตับอ่อนจะผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมา เพื่อนำกลูโคสเข้าเซลล์ ซึ่งจะทำให้ระดับกลูโคส ในกระแสเลือดลดลง ระดับของน้ำตาลในกระแสเลือดที่ต่ำลง จะไปส่งสัญญาณให้ตับอ่อน ผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดน้อยลง เป็นต้น

.
การทำงานของฮอร์โมนอินซูลินซึ่งเป็นการควบคุมการทำงานแบบยับยั้งย้อนกลับ

UP

การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบกระตุ้นย้อนกลับ ( positive feedback) เป็นรูปแบบที่พบน้อยกว่า เป็นการทำงานตรงกันข้าม กับการยับยั้งที่กล่าวมาแล้ว คือ แทนที่จะไปยับยั้งแต่ผลของฮอร์โมน จะไปกระตุ้นให้มีการทำงานของต่อมไร้ท่อมากขึ้น เช่น ฮอร์โมนออกซิโทซิน ซึ่งการที่ทารกดูดนมมารดาอยู่สม่ำเสมอ จะเป็นการกระตุ้นให้ต่อมไต้สมองสร้างฮอร์โมนออกซิโทซินตลอดเวลาหรือมากขึ้น

การทำงานของออกซิโทซินซึ่งเป็นการควบคุมการทำงานแบบกระตุ้นย้อนกลับ

UP


การควบคุมโดยระบบประสาท เกิดได้ 2 ทาง คือ

- ทางตรง โดยมีสมองส่วนไฮโพทาลามัสควบคุมการหลั่งโดยตรง เช่น การทำงานของต่อมใต้สมอง และอะดรีนัลเมดัลลา

- ทางอ้อม โดยมีสมองส่วนไฮโพทาลามัส จะสร้างสารเคมีที่เรียกว่า นิวโรเอนโดคริน ฮอร์โมน (neuroendocrine hormone: neurohormone) ได้แก่ฮอร์โมนที่ช่วยในการหลั่งของฮอร์โมนตัวอื่น (releasing factor) หรือฮอร์โมนที่ช่วยยับยั้งการหลั่งของฮอร์โมนตัวอื่น(inhibiting factor) เมื่อถูกกระตุ้น จะปล่อยเข้ากระแสเลือดไปควบคุมการหลั่งของต่อมไร้ท่อ เช่นต่อมใต้สมองส่วนหน้า ให้ควบคุมต่อมไร้ท่ออื่นต่อไป

การควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนโดยระบบประสาท
(1 และ 2 เป็นการควบคุมโดยตรง ส่วน 3 เป็นการคุมทางอ้อม)


UP