หน้าที่โดยตรง

        ฮอร์โมนจับกับเซลล์ที่มีตัวรับสัญญาณ (receptor) ของโกรทฮอร์โมนอยู่โดยตรงแล้วทำให้มีการ กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงที่เซลล์นั้นได้แก่ตับ เนื้อเยื่อในระบบน้ำเหลือง แมคโคเฟจ และเซลล์ไขมัน(adipocyte) จะทำให้มีการสลายไทรกลีเซอไรด์ และลดการขนถ่ายกรดไขมันเข้าเซลล์ เป็นต้น

 

หน้าที่โดยอ้อม

        โกรทฮอร์โมนจะออกฤทธิ์ผ่านโซมาโทมีดิน (somatomedin) โดยเฉพาะโซมาโทมีดิน ซี หรือที่เรียกว่าตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลิน(insulin-like growth factor-I : IGF-I) โดยโกรทฮอร์โมนจะกระตุ้นให้มีการสร้าง IGF-I ซึ่งส่วนใหญ่เกิดที่ตับ จากนั้น IGF-I จะไปออกฤทธิ์ที่อวัยวะเป้าหมายอีกทีหนึ่ง

การออกฤทธิ์ของโกรทฮอร์โมนมีทั้งออกฤทธิ์โดยตรงต่อเซลล์ต่างๆ และออกฤทธิ์ทางอ้อมผ่าน IGF-I

 

        IGF-I เป็นเปปไทด์ฮอร์โมนที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายอินซูลิน มี 2 ชนิด คือ IGF-I และIGF- II ส่วนใหญ่จะมีการสร้าง IGF-I มากกว่า ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ต่างๆ ส่วน IGF-lI จะมีบทบาทสำคัญในการเจริญของทารกในครรภ์มารดา IGF-I นอกจากสร้างได้ที่ตับแล้ว อวัยวะอื่นที่สร้าง IGF-I ได้แก่ กล้ามเนื้อ ปอด หัวใจ ไต สมอง และต่อมเพศ

 

การกระตุ้นการเจริญเติบโต

       การเจริญเติบโตเป็นขบวนการซับซ้อน และอาศัยการทำงานของหลายฮอร์โมน หน้าที่หลักของโกรทฮอร์โมนคือการกระตุ้นให้ตับและเนื้อเยื่อหลั่ง IGF- I, ซึ่ง IGF-I นี้จะกระตุ้น เซลล์ของกระดูกอ่อน(cartilage cell or chondrocyte) ทำให้มีการแบ่งตัว ของเซลล ์กระดูกอ่อน นอกจากนี้ยังกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อก่อนถึงปลายกระดูกที่ปลายกระดูกอ่อน (epiphyseal plate)โดยกระตุ้นการขนถ่ายกรดอะมิโนในการสร้างโปรตีนที่กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ ทำให้มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์ (hyperplasia) และขยายขนาด (hypertrophy) เพิ่มขึ้น

       เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ร่างกายยังต้องการใช้กรดอะมิโน ในการสร้างโปรตีนอยู่ เพื่อควบคุมเมแทบอลิซึมของโปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรต

การควบคุมการหลั่งของโกรทฮอร์โมนและอวัยวะเป้าหมายที่สำคัญของโกรทฮอร์โมน

ผลต่อคาร์โบไฮเดรตเมแทบอลิซึม

       หน้าที่สำคัญประการหนึ่งคือ การเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด โกรทฮอร์โมนทำหน้าที่ยับยั้งการทำงาน ฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ปริมาณกลูโคสที่จะเข้าเซลล์ลดน้อยลงและยังร่วมกับเซลล์ที่ตับ สลายไกลโคเจน  (glycogen) เข้ากระแสเลือดเพิ่มขึ้นด้วย

 

ผลต่อโปรตีนเมแทบอลิซึม

       โกรทฮอร์โมนทำงานโดยการกระตุ้นการสร้างโปรตีนที่เนื้อเยื่อหลายชนิด โดยเพิ่มการดูดซึม กรดอะมิโนเพื่อนำไปสร้างเป็นโปรตีน และลดการสลายโปรตีนจากเซลล์ ทำให้มีการสะสมของ ไนโตรเจนในร่างกายมากขึ้น และปริมาณไนโตรเจนจากสารยูเรีย (urea nitrogen) ที่ขับออก ทางปัสสาวะ ลดน้อยลง

 

ผลต่อไขมันเมแทบอลิซึม

       โกรทฮอร์โมนกระตุ้นการใช้เซลล์ไขมัน โดยกระตุ้นการสลายไทรกลีเซอไรต์( triglyceride) ทำให้ได้กรดไขมันอิสระ (free fatty acid) เพิ่มขึ้น ทำให้เซลล์อื่นๆเช่นเซลล์กล้ามเนื้อ นำกรดไขมันอิสระ ไปใช้เป็นพลังงานแทนกลูโคสได้มากขึ้น ทำให้มีสารคีโตนที่ได้จากการสลายไขมันในร่างกายมากขึ้น