ฮอร์โมน โพรแลกทิน (prolactin : PRL) กระตุ้นให้เกิดการสร้างและหลั่งน้ำนม (lactation) ในระยะให้นมบุตร โดย PRL มีผลโดยตรงต่อเนื้อเยื่อและต้องอาศัยการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนอื่น ร่วมด้วย เช่นอีสโทรเจน(estrogen) โพรเจสเทอโรน(progesterone) คอร์ติโคสเตอโรน (corticosterone) และอินซูลิน (insulin) เมื่อต่อมน้ำนมได้รับฮอร์โมนเหล่านี้ก่อนแล้ว PRL จึงจะทำให้เกิดการหลั่งน้ำนมได้

       การหลั่งของ PRL ถูกควบคุมโดยโพรแลกทิน รีลิสซิงฮอร์โมน แฟคเตอร์(prolactin releasing hormone factor: PRF) และโพรแลกทิน อินฮิบิทิงฮอร์โมน(prolactin inhibiting hormone:PIF ) จากไฮโพทาลามัส โดยมีการเปลี่ยนแปลงการหลั่งตามการเปลี่ยนแปลงของ ฮอร์โมนเพศในรอบเดือน( menstruation cycle)

       ในช่วงระยะที่มีการเพิ่มของเซลล์เยื่อบุมดลูกก่อนที่มีการตกไข่ จะมีPIF จากไฮโพทาลามัส ไปยับยั้งการหลั่ง PRF ที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้า เมื่อระดับอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนลดน้อยลง ในระยะท้ายของหลังไข่ตก การหลั่ง PIF จะลดน้อยลง ระดับของ PRF จะสูงขึ้น อย่างไรก็ตามระดับของPRF ในเลือดไม่นานพอที่จะมีผลต่อเต้านม แต่ในบางคนอาจทำให้เต้านมนุ่มในรอบก่อนที่จะมีประจำเดือน

 

      PRLที่ เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์เนื่องจากมี PRF จากไฮโพทาลามัสมากระตุ้นการหลั่ง PRL   หลังคลอด PRL จะลดน้อยลง และจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการดูดนมมารดาของทารก ซึ่งสามารถกระตุ้นให้ PRL สูงอยู่ได้นาน ในมารดาที่ไม่ได้ให้ทารกดูดนมหลังคลอด ระดับของ PRL จะลดลงสู่ระดับปกติภายใน 4-6 สัปดาห์หลังคลอด

 

 การดูดนมของทารกเป็นการกระตุ้นการทำงานของโพรแลกทิน

 

      สารที่ต้านการหลั่งของโพรแลกทินตัวที่สำคัญคือ โดปามีน( dopamine ) ซึ่งจะจับกับตัวรับสัญญาณของตัวสร้างฮอร์โมนโพรแลกทิน(lactotroph )ทำให้เกิดขบวนการยับยั้ง การสร้างและหลั่งฮอร์โมนโพรแลกทิน ดังนั้นสารใดก็ตามที่ยับยั้งการหลั่งโดปามีนจะทำให้ปริมาณฮอร์โมนโพรแลกทินเพิ่มขึ้น

โพรแลกทินสามารถกระตุ้นได้โดยอีสโทรเจนและถูกยับยั้งจากโดปามีน

 

       นอกจากนี้ยังมีตัวควบคุมการหลั่งโพรแลกทินอีกได้แก่ไทรอยด์ รีลิสซิง ฮอร์โมน ( thyroid releasing hormone ) และโกนาโดโทรปิน รีลิสซิงฮอร์โมน (gonadotropin releasing hormone )  ยาบางตัวเช่นยาแก้แพ้ (antihistamine) จะกระตุ้นการหลั่งโพรแลกทินได้ แต่ที่สำคัญคือ การดูดนมมารดาของ ทารกซึ่งจะไปกระตุ้นหัวนมและต่อมน้ำนมจะทำให้เกิดวงจร รีเฟล็กซ์ไปกระตุ้นการทำงานของโพรแลกทิน สติมิวเลติงฮอร์โมนที่ไฮโพทาลามัส