เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ฮอร์โมนอีสโทรเจนจะกระตุ้นให้มีการเจริญเติบโตของเต้านม มีการสร้างสาขาของท่อน้ำนม(duct)ออกมากขึ้น หลังจากนั้นอีสโทรเจนจะให้โพรเจสเทอโรนร่วมทำงานทำให้ท่อน้ำนมและถุงน้ำนม(alveoli)เจริญอย่างสมบูรณ์ เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นตึงตัวขึ้น (glandular development)  ในขณะตั้งครรภ์ฮอร์โมนทั้งหมดนี้จะมีจำนวนมากขึ้นทำให้เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่โพรแลกทินยังไม่ได้กระตุ้นการสร้างน้ำนมเพราะถูกยับยั้งโดยฮอร์โมนอีสโทรเจนที่สร้างจากรกในระดับสูงในระดับที่สูงระหว่างตั้งครรภ์ หลังคลอดรกลอกตัวแล้วระดับฮอร์โมนอีสโทรเจนลดน้อยลง และการดูดนมของทารกจะกระตุ้นโพรแลกทินให้ทำงานได้เต็มที่ ในขณะที่ต่อมใต้สมองส่วนหลังจะมีการหลั่งออกซิโทซินออกมากระตุ้นให้ถุงน้ำนมขับน้ำนมออกมาสู่ท่อน้ำนมแล้วมาที่หัวนม(nipple) 

 

การกระตุ้นการเจริญเติบโตของเต้านมและการหลั่งน้ำนมโดยการทำงานของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง

 

  • กระตุ้นการสังเคราะห์น้ำนม (lactogenesis) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของทารก
  • กระตุ้นให้ต่อมน้ำนมหลั่งน้ำนมออกมา   ซึ่งจะหลั่งออกมาวันที่ 3-4 หลังคลอด
  • มีความสำคัญในระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ เป็นฮอร์โมนที่สำคัญในช่วงการตั้งครรภ์ของสัตว์บางชนิดเช่น สุนัข โรเด็นท์ (rodent) และเป็นฮอร์โมนที่สำคัญในสัญชาติญาณของการเป็นมารดาในสัตว์บางชนิด(maternal behavior) เช่น การทำรัง เป็นต้น

 

       นอกจากนี้โพรแลกทินมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน( immune function) โดยจากการศึกษาพบว่าหนูที่ทดลองเอายีนโพรแลกทินออกจะมีความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้เนื่องจากพบตัวรับสัญญาณโพรแลกทินในเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ลิมโพไซด์(lymphocytes) บางชนิด