- ต่อมพาราไทรอยด์อยู่ที่ไหนในร่างกาย

        - ต่อมพาราไทรอยด์สร้างฮอร์โมนอะไรบ้าง

        - ต่อมพาราไทรอยด์ผิดปกติจะทำให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง

 

เรามาศึกษรายละเอียดเกี่ยวกับฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์กันดีกว่า

       - ต่อมพาราไทรอยด์อยู่ที่ไหน

       - หน้าที่ของพาราไทรอยด์ฮอร์โมนคืออะไร

       - ความผิดปกติของพาราไทรอยด์ฮอร์โมนมีอะไรบ้าง


        พาราไทรอยด์ฮอร์โมน (parathyroid hormone) หรือพาราทอร์โมน (parathomone) เรียกชื่อย่อว่าพีทีเอช (PTH) มีความสำคัญในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น หลั่งจากต่อมพาราไทรอยด์ที่ตั้งอยู่ด้านหลัง ที่ด้านบนและด้านล่างของต่อมไทรอยด์ มีขนาดเล็กมีอยู่ 4 ต่อม

 

กายวิภาคของต่อมพาราไทรอยด์ทั้ง 4 ต่อม

 

 

        สูตรโครงสร้างของพาราไทรอยด์ฮอร์โมนของมนุษย์ (human)วัว (bovine)และสุกร(procine) จะพบว่ามีโครงสร้างที่คล้ายกัน ที่แตกต่างกันบ้างเช่นตำแหน่งที่66 ของมนุษย์คือกรดกลูตามิก (glutamic acid) ของวัวและของสุกรคือกลูทามีน (glutamine) ตำแหน่งที่79 ของมนุษย์คือ ทรีโอนีน(threonine) ของวัวและสุกรคือไอโซลูซีน(isoleusine)

 

 

 

UP

 

       ทำให้ระดับความเข้มข้นของแคลเซียมในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น และลดระดับของฟอสเฟตที่กระดูก ไต และลำไส้เล็ก เพิ่มกระบวนการสลายแคลเซียมออกจากกระดูก และยับยั้งกระบวนการสร้างกระดูก ในขณะเดียวกันก็เพิ่มการดูดกลับของแคลเซียมที่ไตทำให้ระดับแคลเซียมในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น กระตุ้นการขับฟอสเฟตออกไปกับปัสสาวะ พาราทอร์โมนเร่งอัตราการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารที่ลำไส้เล็กโดยการทำงานร่วมกับวิตามินดี

 

        พาราไทรอยด์ฮอร์โมนเพิ่มการสลายแคลเซียมจากกระดูกและเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมกลับที่ไต เร่งการขับฟอสเฟตที่ไตทำให้ระดับของแคลเซียม(Ca++) ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น

 

 

การควบคุมแคลเซียมโดยแคลซิโทนินและพาราทอร์โมน

 

UP

 

        ถ้ามีฮอร์โมนนี้น้อยเกินไปจะทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ การดูดซึมแคลเซียมกลับที่ไตลดน้อยลง จะทำให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อไวต่อสิ่งเร้า มีอาการชาตามมือเท้า กล้ามเนื้อหดรัดตัว เกร็ง เป็นตะคริวที่มือและเท้า มีอาการชักกระตุก (tetany) บริเวณหน้า ปอดไม่ทำงาน และเสียชีวิตได้

        สามารถทดสอบการขาดแคลเซียมได้ โดยการใช้เครื่องวัดความดัน รัดแขน จนเกินความดัน ซีส เตอ ลิกเพื่อบีบเส้นเลือดให้ตีบ กล้ามเนื้อจะขาดแคลเซียมไปเลี้ยง จะเกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง มือกระตุกงอ (carpal spasm) ภายใน 3 นาที เรียกอาการนี้ว่า อาการของทรูโซ (Trousseau's sign)

อาการมือกระตุกงอเนื่องจากการขาดแคลเซียม เรียกว่า อาการของทรูโซ (Trousseau’ s sign)

 

       ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากเกินไป เช่นเนื้องอกของต่อมพาราไทรอยด์ จะทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูง ระดับฟอสเฟตต่ำ จะทำให้เกิดนิ่วที่ไต กระดูกเปราะบางได้เนื่องจากมีการสลายของแคลเซียม ที่กระดูกมาก

กระดูกที่แข็งแรง
กระดูกผุจากการขาดแคลเซียม

 

UP