แสงจากวัตถุเคลื่อนที่เข้าสู่ดวงตาคนเราโดยเกิดการหักเหผ่านกระจกตา (cornea) และแก้วตา
(lens) มาตกกระทบจอประสาทตา (retina) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีตัวรับแสง (photoreceptors) ได้แก่
เซลล์รูปแท่ง (rod cell) และเซลล์รูปกรวย (cone cell) ที่ประกอบด้วยสารซึ่งสามารถดูดกลืนแสง
ในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ กันโดยเซลล์รูปแท่ง (rod cell) มีสารสีม่วงแดงชื่อโรดอปซิน
(rhodopsin) ที่ประกอบด้วยโปรตีนออปซิน (opsin) รวมกับสารเรติแนล (retinal) ซึ่งมีความไวต่อแสง
ได้ดีที่สุดในช่วงความยาวคลื่น 500 นาโนเมตร จะทำงานได้ดีในที่มีแสงน้อยหรือในช่วงแสงสลัว
(dim light) ทำให้สามารถมองเห็นวัตถุในที่มืดหรือในที่สลัวได้ แต่จะเห็นวัตถุเป็นภาพขาว-ดำ โดยมี
กลไกการมองเห็นดังนี้
  
      เมื่อมีแสงมากระตุ้นเซลล์รูปแท่ง พลังงานจากการดูดกลืนแสงของโรดอปซิน จะทำให้้โมเลกุล
ของเรติแนล (retinal) เปลี่ยนแปลงโครงสร้างจนเกาะกับโมเลกุลของออปซินไม่ได้ในขณะเดียวกัน
จะเกิดกระแสประสาทเดินทางไปยังเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 เพื่อส่งกระแสประสาทต่อไปยังสมอง
ให้แปลเป็นภาพ และเมื่อไม่มีแสง ออปซินและเรติแนล (retinal) จะรวมตัวกันเป็นโรดอปซินใหม่

           

 

                       ภาพที่ 3.12 การเปลี่ยนแปลงของโรดอปซินในเซลล์รูปแท่ง

 

  อยากรู้ไหม ? ทำไมคนที่เป็นโรคตาฝ้าฟางจึงมองไม่เห็นในเวลากลางคืน?