2. ส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว (vestibular portion)


      
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการทรงตัว อยู่ด้านหลังของหูชั้นใน จะรับรู้เกี่ยวกับ
การเอียง การหมุนของศีรษะตลอดจนการทรงตัว มีลักษณะเป็นหลอดครึ่งวงกลม 3 หลอด
วางตั้งฉากกันเรียกว่า เซมิเซอร์คิวลาร์แคแนล (semicircular canal) ภายในหลอดมี
ของเหลว เอ็นโดลิ้มฟ์ (endolymphatic fluid) บรรจุอยู่ที่โคนหลอดมีส่วนโป่งพองออกมา
เรียกว่า แอมพูลา (ampulla) ซึ่งภายในมีเซลล์รับความรู้สึกที่มีขน (hair cell)
  
       นอกจากนี้ ส่วนที่ควบคุมการทรงตัว (vestibule) ในหูชั้นในยังประกอบด้วยอวัยวะที่
สำคัญอีก 2 อย่าง คือ แซกคูล (saccule) และยูลตริเคิล (utricle) ซึ่งมีลักษณะดังนี้

      แซกคูล (saccule)

             - เป็นถุงกลมขนาดเล็กติดต่อกับท่อคอเคลีย (cochlea duct) ภายในมีของเหลว
เอ็นโดลิ้มฟ์ (endolymphatic fluid) และเซลล์ขนสำหรับรับความรู้สึก (macula sacculi)
และอวัยวะรับความรู้สึกในการทรงตัวที่มีลักษณะคล้ายก้อนกรวด เล็กๆ เรียกว่าโอโตลิทช์
(otolith)

      ยูลตริเคิล (utricle)

            
- เป็นถุงใหญ่กว่า แซกคูล (saccule) และต่อกับ แซกคูล (saccule) ด้วยท่อที่เรียกว่า
ท่อแซกคูลโล-ยูลตริคูลาร์ (sacculo- utricular duct) ภายในมีเซลล์ขนสำหรับรับความรู้สึก
เรียกว่า แมคคูลา- ยูลตริคูลไล (macula utriculi ) มีของเหลวและ โอโคลิทช์ (otolith)
เช่นเดียวกับในแซกคูล (saccule)



ภาพที่ 3.21 อวัยวะรับเสียงและควบคุมการทรงตัวในหูชั้นใน
  
ภายในหูชั้นในมีระบบของเหลว 2 ระบบ ได้แก่

    1. เพอริลิ้มฟ์ (perilymphatic fluid) เชื่อว่าเป็นของเหลวที่มาจากน้ำหล่อไขสันหลัง
( CSF : cerebrospinal fluid) จะอยู่รอบๆเยื่อบุชั้นใน มีส่วนประกอบคล้ายของเหลวนอกเซลล์
(extracellular fluid) โดยมี Na+ สูง K+ ต่ำ (Na = 140 mEq/L K= 5.5-6.25 mEq/L) ปริมาณโปรตีน ประมาณ 200 มก./ 100 มล. ซึ่งสูงกว่าในน้ำหล่อไขสันหลัง

    2. เอ็นโดลิ้มฟ์ (endolymphatic fluid) เชื่อว่าเป็นของเหลวที่มาจากเซลล์ซีเคททอรี่
(secretory cell) ของสเตรีย วาสคิวลาริส (stria vascularis ) จะอยู่ภายในเยื่อบุหูชั้นใน มี K+
สูง (140-160 mEq/L ) และ Na+ ต่ำ (12-16 mEq/L ) เหมือนของเหลวภายในเซลล์
(intracellular fluid) และมีโปรตีนต่ำกว่าในเพอริลิ้มฟ์ (perilymphatic fluid)

         เมื่อของเหลวในหูชั้นในมีการไหลก็จะกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกบอกให้รู้ตัวว่าขณะนี้
ร่างกายอยู่ในตำแหน่งใด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการทรงตัวโดยเฉพาะ (ภาพที่ 3.22)

 

                               

 

  ภาพที่ 3.22    ก. - ภาพส่วนประกอบอวัยวะที่ควบคุมการทรงตัว
                       ข. - แสดงส่วนประกอบของอวัยวะรับความรู้สึก (macula)
                       ค.ง.จ.ฉ.ช.-ภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะรับความรู้สึกเมื่อร่างกาย
                             เปลี่ยนท่าทรงตัวในลักษณะต่างๆ
                       ซ. -แสดงส่วนประกอบของเซลล์ขน


        จากภาพ 3.22 กระแสประสาท (impulse) จะถูกส่งเข้าเส้นประสาทเวสติบูล่า
(vestibular nerve) ซึ่งจะไปรวมกับเส้นประสาทคอเคลีย (cochlear nerve) เป็นเส้นประสาท
สมองคูู่่ที่ 8 (auditory nerve) ไปยังเวสติบูล่า (vestibular nuclei) ในก้านสมอง จากนั้น
จึงเข้าสู่สมองน้อย ซึ่งจะส่งกระแสประสาทไปกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องเพื่อ
ให้เกิดการตอบสนองที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว


ทดสอบการทรงตัว คุณลองยืนบนเบาะรองนั่ง กางแขนออก ยกขาข้างหนึ่งขึ้นและหลับตา อย่างหนูน้อยในภาพ
คุณคิดว่าผลจะเป็นอย่างไร ทรงตัวได้ง่ายไหม?

 

 

   เราเริ่มต้นได้ยินเสียงตอนไหน และทุกคนจะได้ยินเสียงเหมือนกันหรือไม่