คุณจำเหตุการณ์ทุกอย่างในชีวิตได้หรือไม่


      สมองเก็บความทรงจำไว้ได้อย่างไร


      คนที่มีความจำเสื่อมจะเกิดผลอย่างไรต่อชีวิต


       ความจำเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ สมองของคนเรามีเส้นทางของความทรงจำ
อย่างน้อย  5  อย่าง คือ

             1. ความจำภาษา คำพูด ความหมายของคำต่างๆ (semantics)

             2. ความจำสถานที่ ตำแหน่งที่อยู่ (episodic or location)

             3. ความจำขบวนการ ขั้นตอน (procedure)

            4. ความจำ อัตโนมัติ (automatic)

            5. ความจำทางอารมณ์ (emotion) เป็นความจำเหนือความจำอื่นๆ ซึ่งเป็นเส้นทางไปเก็บ
สะสมข้อมูลที่ถาวรในสมอง



         ความจำมีหลายลักษณะได้แก่ ความจำที่สามารถควบคุมได้ (voluntary) มักเป็น
ความจำเกี่ยวกับคำพูด ภาษา ฯลฯ ส่วนความจำที่เป็นแบบอัตโนมัติมักเป็นความจำเกี่ยวกับ
อารมณ์หรือกระบวนการทำงาน ที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตรประจำวัน หรือใช้บ่อยๆเช่น การเดิน
ขึ้นลงบันได  โดยข้อมูลทั้งหมดที่เราสนใจหรือสำคัญ จะถูกเก็บไว้เป็นความจำถาวร ซึ่ง
มักเกิดขึ้นขณะหลับ
  

   นอกจากนี้ยังมีผู้แบ่งความจำเป็นประเภทต่างๆ ตามระยะเวลาดังนี้

       1. ความจำได้ทันที (immediate memory) เป็นความจำที่เกิดขึ้นทันทีหลังได้รับข้อมูล
ได้้แก่ความจำได้เกี่ยวกับตัวเลข ซึ่งสามารถทดสอบได้ โดยให้ผู้ถูกทดสอบผู้ตัวเลขตาม
ผู้ทดสอบหรือพูดตัวเลขย้อนกลับจากผู้ทดสอบ เช่น ผู้ทดสอบกล่าวตัวเลข 2,8 และให้ผู้ถูก
ทดสอบพูดตามทันที่โดยพูดกลับกันว่า 8,2

                                     

 

       โดยเฉลี่ยบุคคลทั่วไป มักจะสามารถพูดตัวเลขซ้ำเลียนแบบผู้ทดสอบได้ประมาณ 5-7 ตัว
แต่ถ้าพูดกลับด้านกัน จากด้านหลังมาด้านหน้าจะจำได้ประมาณ 4-6 ตัว

       2. ความจำระยะสั้น (recent memory) เป็นความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือคำพูดที่เกิดขึ้น
ในระยะเวลาสั้น เป็นหลายนาที ถึงชั่วโมง ในการประเมินมักใช้คำถามต่อไปนี้

                        “ คุณกำลังทำอะไรก่อนที่จะมาที่นี่ ? ”

                        “ เช้านี้คุณตื่นนอนกี่โมง ? ”

                        “ มื้อที่แล้วคุณ รับประทานอาหารอะไร ? ”



      3. ความจำระยะยาว
(remote memory) เป็นความจำเกี่ยวกับ คำพูดหรือเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายชั่วโมง หลายวันจนถึงหลายปี คำถามที่ใช้ในการประเมินได้แก่

                       “ คุณเกิดที่ไหน ? ”

                       “ โรงเรียนมัธยมที่คุณสำเร็จการศึกษาชื่ออะไร ? ”

  
        ตัวอย่างการเรียนรู้ ที่เรามักพบเสมอๆ ในโรงเรียนได้แก่ การให้เด็กเรียนหนังสือมากมาย
แต่จะมีผลเพียงระยะเวลาสั้นๆ พอสอบเสร็จก็ลืม หรือการลืมความรู้ในวัยเด็ก เมื่อเราเติบโต
เป็นผู้ใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือไม่มีความหมาย แม้ว่าในขณะเรียน
จะท่องจำมากมายและอาจทำคะแนนสอบได้ดีแต่จะไม่อยู่ในสมองอย่างถาวร และไม่ช่วย
ส่งเสริมการเจริญเติบโตของสมอง ฉะนั้นเราควรให้ความรู้แก่ เด็กเท่าที่จำเป็นเรียนแล้ว
สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้เด็กมีีเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมบ้างช่วยให้
สมองได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพครบทุกส่วน ไม่ใช่ให้เรียนมากมายเกินความจำเป็น
สุดท้ายก็จำอะไรไม่ได้เมื่อโตขึ้น ซึ่งเป็นการทำลายโอกาสในการพัฒนาสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง
กับไหวพริบ จินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทักษะชีวิตและสังคม และยังไม่สามารถ
แก้ปัญหาชีวิตที่อยู่นอกตำราเรียนได้
  
        ส่วนความจำทางอารมณ์ที่เป็นประสบการณ์ทางอารมณ์ทุกชนิดได้แก่ อารมณ์เศร้าทุกข์
์เครียด กลัว โกรธ เป็นความจำที่มีอำนาจเหนือความจำอื่นๆ คือ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะไม่สามารถ
จดจำข้อมูลที่เป็นเหตุผลอื่นๆ ได้เพราะเมื่อเกิดความเครียดจะทำให้้ฮอร์โมนคอร์ติซอล
(cortisol)  หลั่งออกมายับยั้งการเรียนรู้ และคิดอะไรไม่ออกไม่มีเหตุผล สมองส่วนที่เก็บ
ความจำทางอารมณ์จะพัฒนาในช่วงอายุ 2-3 ปีแรกของชีวิต ดังนั้นถ้าเราจะพัฒนาอารมณ์
์เด็กต้องอยู่ในช่วงวัยดังกล่าว ถ้าเลยช่วงอายุนี้จะพัฒนายากขึ้นกล่าวคือ ถ้าเด็กไม่ได้ฝึกฝน
ในการควบคุมอารมณ์ก็จะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีเมื่อโตขึ้น


คนที่มีความจำเสื่อมจะเกิดผลอย่างไรต่อชีวิต

ใครมีโอกาสเป็นบ้างอยากรู้ต้องศึกษาต่อจ๊ะ