เป็นสารติดสีได้รับการเรียกชื่อตามชาวเยอรมันผู้พบคือ นิสเซส (Franz Nissl) ถ้าดูสารนี้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา(light microscope) จะเห็นเป็นกลุ่มในไซโตพลาสซึม(cytoplasm)และเดนไดร์ต(dendrite) ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อีเลคตรอน (electron microscope) จะเห็นเป็นเอ็นโดพาสมิกชนิดหยาบ(rough endoplasmic reticulum: RER) ซึ่งมีไรโบโซมเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีไรโบโซมอิสระกระจายอยู่รอบๆ ทำหน้าที่สร้างโปรตีนแล้วนำส่งไปตามแอกซอน(axon) แทนที่โปรตีนที่ถูกใช้ในกระบวนการเมตะบอลิสึม (metabolism)

 

          ถ้าแอกซอน(axon) ถูกทำลายหรือมีเซลล์ประสาทที่เสื่อม สารนิสเซส (Nissl
substance) จะจางหายไปเรียกว่าเกิดโครมาโตไลซิส(chromatolysis)
ภาพแสดงส่วนประกอบของเซลล์ประสาท