ระบบประสาทช่วยให้สัตว์รับรู้และ
ตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างไร


          การตอบสนองของระบบประสาทต่อสิ่งเร้าเป็นสิ่งแสดงว่าสิ่งมีชีวิตนั้นยังคงมีชีวิตอยู่
คนที่ตายแล้วระบบประสาทจะไม่ทำงานและสั่งงานไม่ได้ โดยปกติการตอบสนองของสัตว์จะ
เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ โดยระบบประสาทจะควบคุม
การตอบสนองที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดเร็วได้แก่การหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว
อย่างรวดเร็ว ส่วนระบบต่อมไร้ท่อ จะควบคุมการตอบสนองที่เกิดช้ากว่าแต่จะมีผลต่อเนื่องเป็น
เวลานานได้แก่ การเจริญของเซลล์ไข่ในรังไข่ ทั้ง 2 ระบบจะทำงานต่างกันแต่ทำงานสัมพันธ์
กันจึงเรียกว่า ระบบประสานงาน (coordinating system )

 


ตัวอย่าง
เมื่อเด็กเห็นสุนัขทำท่าดุร้าย แยกเขี้ยวอยู่ตรงหน้า
หัวใจจะเต้นเร็ว เกิดความกลัว แล้ววิ่งหนีทันที



     


          กรณีเช่นนี้ สุนัขที่ทำท่าดุร้ายเป็นสิ่งเร้าที่เด็กรับรู้ได้ จากการมองเห็น และส่งสัญญาณ
ไปยังหน่วยแปลความรู้สึกและระบบประสาทสั่งงาน เพื่อสั่งการให้หน่วยปฏิบัติงานตอบสนอง
ทันที

 


  สิ่งมีชีวิตทุกประเภทจะรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนกันหรือไม่

 


          สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว สัตว์ที่ไม่มีระบบประสาทและสัตว์ที่มีระบบประสาทจะมีวิธีการรับรู้
และตอบสนองต่อ สิ่งแวดล้อมแตกต่างกันดังนี้

สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กพวกเซลล์เดียว ได้แก่ โพรโทซัว พารามีเซียม ซึ่งไม่มีเซลล์ประสาท
สามารถเคลื่อนที่เข้าหา หรือหนีแสงสว่าง ความร้อนหรือสารเคมีและวัตถุที่สัมผัส โดยอาศัย
เส้นใยประสานงาน (co-ordinating fiber) ที่อยู่ใต้ผิวเซลล์ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่าง
โคนซีเลีย เพื่อให้เกิดการโบกพัดของซีเลียและเคลื่อนที่ได้




ซีเลียรอบๆเซลล์พารามีเซียม เชื่อมโยงกับเส้นใยประสานงาน
 



ภาพที่ 1.4 พารามีเซียมและซีเลียรอบๆเซลล์



สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ ไฮดรา พลานาเรีย และแมลง กุ้ง ปู ไส้เดือนดิน

          นักวิทยาศาสตร์พบว่า ไฮดรามีเซลล์ประสาทที่เชื่อมโยงกันคล้ายร่างแหประสาท
(nerve net) เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น จะเกิดกระแสประสาทเคลื่อนที่ ตัวอย่างเช่น การใช้เข็มแทง
ที่ตรงปลายแทนทาเคิลของไฮดรา จะพบว่า ทั้งแทนทาเคิลและส่วนอื่นๆ สามารถรับรู้และ
ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น โดยทำให้ร่างกายของไฮดราหดสั้นลง ส่วนเซลล์ประสาทของ
พลานาเรีย จะรวมเป็นกลุ่มเรียกว่าปมประสาท (nerve ganglion) โดยเฉพาะที่บริเวณหัว
สัตว์พวกแมลง ไส้เดือนดิน กุ้ง หอย มีปมประสาทขนาดใหญ่ขึ้นเรียกว่า สมอง เป็นศูนย์รวม
ของระบบประสาทอยู่ทางด้านหัว และมีเส้นประสาทเชื่อมต่อปมประสาทที่มีอยู่ตามปล้อง
(ดังภาพ)

ก.ไฮดรา

     

 


ข.ไส้เดือน

 

ค.พลานาเรีย

ภาพที่1.5 ระบบประสาทของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด
ก.ไฮดรา ข.ไส้เดือน และ ค.พลานาเรีย

 

ส่วนประกอบของระบบประสาท

          ระบบประสาทประกอบด้วยกลุ่มเซลล์จำนวนมากที่มาทำงานด้วยกันเรียกว่า เนื้อเยื่อประสาท(nervous tissue) ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิดคือ

1.เซลล์ประสาท (nerve cellหรือ neuron) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณประสาท มีคุณสมบัติพิเศษ แตกต่างไปจากเซลล์ทั่วไปคือ เซลล์ประสาทสามารถถูกกระตุ้นและให้การตอบสนองได้โดยตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้า เรียกคุณสมบัติพิเศษนี้ว่า เออริทาบิลิต ี้(irritability) ส่วนเซลล์ที่แสดงคุณสมบัติพิเศษเช่นนี้เรียกว่า เซลล์เอ็กไซด์เทเบิล (excitable cell)

2.เซลล์ค้ำจุน (supporting cell) เป็นเซลล์ที่แทรกอยู่ระหว่างเซลล์ประสาทต่างๆ ทำหน้าที่
เหมือนเป็นกาว (glue) เซลล์พวกนี้เทียบได้กับเซลล์ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่แทรกอยู่ในเนื้อเยื่อ
ชนิดอื่นๆ เรียกเซลล์กลุ่มนี้ว่านิวโรเกลี่ย (neuroglia)หรือเซลล์เกลี่ย (glia cell) ได้แก่
เซลล์ชวันน์ (Schwann cells) และเซลล์เซทแทลไลท์ (satellite cell)

 


ภาพที่1.6 แสดงลักษณะของเซลล์เซทแทลไลท์ (satellite cell)
ที่แทรกอยู่ระหว่างเซลล์ประสาท (ลูกศรชี้)
ที่มา:http://www.sci.uidho.edu/med532/neurocyto.html