สิ่งมีชีวิตใช้ ATP ในกระบวนการต่างๆ อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ATP ที่ถูกสลายไป
ด้วยน้ำ สามารถถูกสร้างขึ้นมาใหม่ด้วยการรวมตัวระหว่าง ADP กับหมู่ฟอสเฟต ปฏิกิริยานี้มี
G เป็นบวกจึงมีแนวโน้มที่จะไม่เกิดขึ้น เซลล์จึงต้องใช้พลังงานในการผลักดันให้เกิดการสร้าง
ATPกระบวนการสร้าง ATPในเซลล์แบบต่างๆ รวมเรียกว่า ฟอสโฟริเลชัน (phosphorylation)
ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท แบบแรกเป็นการสร้าง ATP จากสารพลังงานสูงตัวอื่นๆ โดยวิธี
การควบคู่ทางปฏิกิริยาและพลังงาน หรือที่เรียกว่า ฟอสโฟริเลชันระดับซับสเตรต (substrate-
level phosphorylation) ATP ยังถูกสร้างขึ้นได้จากสารนำอิเล็กตรอน เช่น NADH และ
FADH2 ซึ่งตัวนำอิเล็กตรอนเหล่านี้สามารถถ่ายทอดอิเล็กตรอนให้แก่ออกซิเจนผ่านทางระบบ การขนส่งอิเล็กตรอนในไมโทคอนเดรีย ทำให้ได้พลังงานที่จะผลักดันให้เกิดการรวมตัวระหว่าง
ADP กับฟอสเฟต กระบวนการนี้เรียกว่า ออกซิเดทีฟฟอสโฟริเลชัน (oxidative-
phosphorylation)สำหรับสิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์แสงเองได้ แสงจะทำให้น้ำแตกตัวให้ออกซิเจน
โปรตอน และอิเล็กตรอน อิเล็กตรอนจะถูกส่งไปตามระบบการขนส่งอิเล็กตรอนของ
คลอโรพลาสต์ทำให้เกิดพลังงานที่จะสามารถผลักดันให้ ADP กับฟอสเฟตเกิดการรวมตัวกัน
กระบวนการนี้เรียกว่า โฟโตฟอสโฟริเลชัน (photophosphorylation) หรือการเกิด
ฟอสโฟรีเลชันที่ต้องอาศัยแสง





ภาพที่ 6.3 วัฏจักร ATP