เป็นการยากที่จะบอกกล่าวสถานการณ์สิ่งแวดล้อมทุก ๆ ด้านได้ละเอียดเพราะสิ่งแวดล้อม
เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ตั้งแต่มองไม่เห็นจนถึงการจับต้องได้ หรือมีตั้งแต่สิ่งเดี่ยว ๆ จนถึงสลับ
ซับซ้อน ดังนั้นจึงขอกล่าวสิ่งแวดล้อมออกเป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรกคือ ทรัพยากร กลุ่มที่สองคือ
เทคโนโลยี และกลุ่มที่สามคือ ของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อม ทั้งสามกลุ่มเหล่านี้มีการผสม
ผสานของการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม

 

                                    

                                   รูปที่ 5.35 น้ำทิ้งจากสารเคมีลงสู่แม่น้ำ
                                                  (ที่มา: www.virtualglobe.org/.../
                                                  env/11/chemical02.html)



  NEB (National Environment Board ; 1992) บรรยายไว้ว่าทรัพยากรธรรมชาติ
ที่สำคัญของประเทศไทยได้แก่ ป่าไม้ ซึ่งปัจจุบันมีเหลือเพียง 26.64 เปอร์เซนต์ ของพื้น
ที่ประเทศ 320.7 ล้านไร่ (ข้อมูล พ.ศ. 2534) หรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 85 ล้านไร่ ทำให้
้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นตามมา เช่น การเกิดอุทกภัยรุนแรงเพิ่มขึ้นในฤดูฝน ภาวะความ
แห้งแล้งอย่างหนักและกระจายทั่วประเทศ การขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ทุก ๆ พื้นที่ของประ
เทศ การรุกล้ำของน้ำเค็มของแม่น้ำสายสำคัญในฤดูแล้งลึกเข้าไปทุกปี เช่น แม่น้ำบาง
ประกงมีน้ำเค็มแทนที่ถึง 150 กม. จากปากน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนย้ายดิน
กรวด หิน จากพื้นที่ป่าสูงลงสู่ที่ต่ำ ทำให้ดินขาดคุณค่าทางการเกษตรและใช้ประโยชน์
ตามศักยภาพของดินนั้น ๆ ที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งก็คือ การขาดแคลนไม้ใช้สอยภายใน
ประเทศ ต้องสั่งซื้อไม้จากประเทศพม่า ลาว เขมร และมาเลเซีย ซึ่งเท่ากับเป็นการสูญเสีย
เงินตราต่างประเทศ อีกทั้งยังต้องสูญเสียสัตว์ป่าหลายร้อยหลายพันชนิดซึ่งไม่มีที่อยู่อาศัย
บางชนิดอพยพไปอยู่ที่อื่น บางชนิดล้มตายไปก็มาก จึงคาดว่าสัตว์ป่าที่เคยมีอยู่อย่าง
สมบูรณ์ในประเทศไทย คือ มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 265 ชนิด นก 917 ชนิดสัตว์เลื้อย
คลาน 298 ชนิด สัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก 107 ชนิดปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็ม 1,117
ชนิด คงเหลือน้อยกว่านี้อย่างแน่นอน รวมทั้งปัญหาทรัพยากรทางทะเล ได้ทวีความรุน
แรงมากยิ่งขึ้นต่อประเทศไทย (กรมประมง, 2536)

   สวล.มก. (สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ; 2534, 2535)รายงานไว้ว่าทรัพยา
กรดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญสำหรับประเทศเกษตรกรรม เช่น ประเทศไทยปัจ
จุบันที่ดินเกษตรกรรมแม้ว่ายังมีอย่างพอเพียง แต่ทุก ๆ แห่งกำลังอยู่ในขั้นเผชิญปัญหา
ดินจืด ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินทรายจัด ดินถูกชะล้างพังทลาย ดินเสื่อมค่า และถูกทับถม
ด้วยกรวดทราย หิน นอกจากนี้ดินที่ดีเหมาะต่อการทำเกษตรกรรมโดยเฉพาะปลูกพืชได้
ถูกคุกคามโดยโครงการจัดที่อยู่อาศัย เช่น กรุงเทพมหานครจะคุกคามดินนาข้าวปีละไม่
น้อยกว่า 50 ตารางกิโลเมตรด้วยการสร้างที่อยู่อาศัย และเป็นเช่นนี้ในอีกทุกๆ เมืองต่างๆ
ทั่วประเทศ นอกจากนี้สิ่งที่ต้องกล่าวถึงคือ การใช้ที่ดินทำเกษตรกรรมด้วยเทคโนโลยีที่ไม่
่เหมาะสมและขาดความระมัดระวังเช่น การทำให้ดินแน่นตัว ใช้ยาฆ่าแมลงและยาปราบ
วัชพืชมากเกินไปและไม่เหมาะสม ทำให้สิ่งมีชีวิตในดินตายและไม่มีกิจกรรมซึ่งเท่ากับ
เป็นการทำให้ดินเสื่อมคุณภาพไป สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเพราะผู้ใช้ขาดความรู้หรือรู้แล้วไม่ทำ
หรือตั้งใจทำก็ได้

   สวล.มก. 2535, 2536 และ สศกก. (2535) รายงานสรุปไว้ว่า ทรัพยากรน้ำดูเหมือนว่า
เป็นสิ่งจำเป็นต่อคนไทยทุกคน แต่ปัจจุบันมีน้ำมากในฤดูฝนและมีน้อยมากในฤดูแล้งนอก
จากนี้ถึงแม้ว่ามีน้ำแต่คุณภาพน้ำต่ำกว่ามาตรฐาน การนำไปใช้ทำให้เกิดปัญหา สิ่งแวดล้อม
ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งก็คือ ประเทศไทยอยู่เขตร้อน จำเป็นอย่างยิ่งต้องให้ดินเก็บน้ำเอาไว้
ทุกครั้งในเมื่อมีฝนตก แล้วจึงค่อย ๆ ปลดปล่อยลงหล่อเลี้ยงลำห้วย ลำธาร ป่าไม้เป็นปัจจัย
สำคัญให้ดินเก็บน้ำได้มากและมีประสิทธิภาพ ในภาวะที่ขาดป่าปกคลุมเช่นนี้จำเป็นต้องหา
พื้นที่เก็บน้ำในฤดูฝน มิฉะนั้นแล้วภาวะขาดแคลนน้ำจะเกิดขึ้นไม่รู้จักหมดสิ้นและมีีแนวโน้ม
จะรุนแรงเพิ่มขึ้น อย่างน้อยการประปาของทุกๆ แห่ง จะต้องหาที่เก็บน้ำดิบในฤดูแล้งเอาไว้
้มิใช่อาศัยน้ำในแม่น้ำเป็นแหล่งน้ำดิบอีกต่อไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ความรู้เรื่องน้ำนั้นทุกคน
ทราบแต่ไม่ตระหนักว่าจะต้องใช้อย่างไร การให้ความรู้ทางด้านนี้ ยังไม่ทั่วถึง จึงต้องระดม
สรรพกำลังเท่าที่จะทำให้และต้องให้ดีกว่าในอดีต (สวศ.มก. 2535)

   อากาศเป็นพิษดูเหมือนว่า เป็นเรื่องที่ตื่นตัวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา ที่รุนแรงมาก
คือ ปี 2534 ที่มีภาวะอากาศในกรุงเทพมหานครเป็นพิษ จนทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจราจร
ซึ่งเป็นตัวก่อเหตต้องหาทางป้องกันเช่น ใส่หน้ากาก เป็นต้น นอกจากนี้โรงงานอุตสาหกรรมก็
็เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ทุกคนเพ่งเล็ง แต่ที่ชัดเจนก็ปลายปี พ.ศ. 2535 ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะปล่อย
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจนและฝุ่นละออง จนทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่
โดยรอบมีปัญญาโรคระบบหายใจมากกว่า 100 คน จากการศึกษาของหน่วยราชการที่เกี่ยว
ข้องพบว่า ความเข้มข้นของ สารพิษในอากาศของประเทศไทยเพิ่มขึ้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องเอา
ใจใส่อย่างยิ่ง การให้ความรู้ต่อชนทุกชั้นดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งจำเป็น(สวล.มก. 2534, 2535,
2536 และ NEB, 1992)

  ปัญหาเรื่องเสียงดูเหมือนว่าจะรุนแรงขึ้น ก่อให้โสตประสาทมีปัญหามากมายหลาย ๆ แห่ง
หลายอาชีพ โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมและการจราจร การขาดความรู้เป็น
เรื่องที่สำคัญ แต่ดูเหมือนว่าทุกคนจะละเลยตามนิสัยของคนไทยที่ชอบอะไรง่าย ๆ ดังรายงาน
สวล.มก. (2528, 2531, 2535 และ 2536) ปัญหาที่เกิดขึ้นอีกมากมายหลายอย่างที่ สวล.
มก. (2535) ได้กล่าวโดยสรุปคือ อุบัติภัยจากการขนส่งสารเคมีีเป็นพิษขยะ อาชญากรรม
ทรัพยากรประมง ทรัพยากรแร่ และพลังงานสิ่งเหล่านี้กำลังมีผลกระทบต่อประเทศไทยที่
ค่อนข้างจะรุนแรง การขาดความรู้และความเข้าใจในการดำเนินการเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง

  โดยภาพรวมแล้ว สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย อยู่ในขั้นวิกฤติเกือบทุก ๆ
สภาพสิ่งแวดล้อม (สวล.มก. 2535) โดยเฉพาะพื้นที่ทรัพยากรนั้น ๆ เกี่ยวข้องอยู่สาเหตุ
ุสำคัญคือ การขาดความรู้ของประชาชน การละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายการขาดประสิทธิ
ภาพและนโยบายรัฐบาลไม่แน่นอนพอที่จะดำเนินการให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี การสร้างมาตร
การป้องกันซึ่งเป็นเรื่องที่ได้พูดคุยกันมาทั้งมาตรการทางบวกและทางลบก็ยังไม่เกิดผล
เท่าที่ควร ทั้งนี้เป็นเพราะว่าประชากรของประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากที่เคยมีีใน
ปี พ.ศ. 2495 ประมาณ18 ล้านคน มาเป็นประมาณ 57 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2535 เพิ่มขึ้น
ประมาณปีละหนึ่งล้านคน ทำให้มาตรการป้องกันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่
่สัมฤทธิ์ผลตามที่มุ่งหวังเอาไว้ ถ้าจะกล่าวว่าปัญหาที่ี่เกิดขึ้นเป็นเพราะประชากรเพิ่มมาก
ก็ไม่น่าจะเป็นจริงเสมอไป คุณภาพประชากรน่าจะเป็นเหตุผลหลัก โดยเฉพาะการมีจิต
สำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องดำเนินการให้้เป็นไป
ตามหลักการที่สิ่งแวดล้อมศึกษาที่กำหนดไว้ ซึ่งน่าจะทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมของ
ประเทศดีขึ้นได้ ดังรายงานของ สวล.มก.(2534, 2535) และ NEB (1992)