กฎของเบียร์และแลมเบิร์ต (Beer-Lambert law)
 

            กฏของแลมเบิร์ต (Lambert’s law) มีใจความว่า
            “เมื่อมีแสงที่มีความยาวคลื่นเดี่ยว (monochromatic light)
ผ่านตัวกลางเนื้อเดียว สัดส่วนของความเข้มของแสงที่ถูกตัวกลางนั้นดูดกลืนไว้
ไม่ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงที่กระทบตัวกลางนั้น และความเข้มของแสงจะถูก
แต่ละชั้นของตัวกลางดูดกลืนไว้ในสัดส่วนที่เท่ากัน”

                   

            จากรูปจะเห็นว่าทุกๆ ภาคตัดขวางที่แสงเดินทางผ่าน จะถูกโมเลกุล
ในแต่ละชั้นจะดูดกลืนแสงไป 30% เสมอ

            กฏของเบียร์ (Beer’s law) มีใจความว่า
           “เมื่อแสงที่มีความยาวคลื่นเดี่ยวผ่านตัวกลางเนื้อเดียว สัดส่วนของความเข้ม
ของแสงที่ถูกตัวกลางนั้นดูดกลืนไว้จะแปรผันโดยตรงกับปริมาณของตัวกลางที่ดูดกลืน
แสงนั้น”

               จากรูปถ้าความเข้มข้น C2 > C1 ดังนั้นแสงที่ผ่านสารละลาย C2 ออกมา
จะเหลือน้อยกว่าแสงที่ผ่านออกมาจากสารละลาย C1 เนื่องจากที่ความเข้มข้นสูงกว่า
จะมีโมเลกุลที่สามารถดูดกลืนแสงขวางทางเดินแสงอยู่มากกว่า

            เมื่อเราวัดการดูดกลืนแสงของสารละลาย ปริมาณความเข้มของแสงที่ถูก
ดูดกลืนจะขึ้นอยู่กับทั้งความเข้มข้นของสารละลายและความหนาของสารละลายที่
ลําแสงต้องผ่าน จึงจําเป็นต้องรวมกฏของเบียร์และกฏของแลมเบิร์ต เรียกเป็น
กฏของเบียร์-แลมเบิร์ต (Beer-Lambert law)
           
       
            การวัดค่าการดูดกลืนแสงของสารตัวอย่างเราสามารถทำได้โดยให้ลำแสง
ผ่านเข้าไปในตัวอย่าง (Incident light: I0) แล้ววัดปริมาณแสงที่เหลือผ่านออกมา (I)
โดยเทียบกับแสงที่ผ่านออกมาเมื่อไม่มีสารตัวอย่าง

 
 
รูปที่ 2.1 ลำแสงที่ผ่านเข้าออกสารละลายความเข้มข้น c เป็นระยะทาง l
 
จากรูปที่ 2.1
Transmittance (T) เป็นสัดส่วนปริมาณแสงที่ผ่านออกมา (I) ต่อปริมาณแสงที่
ผ่านเข้าไปในตัวอย่าง(I0) เขียนสมการได้ว่า
Absorbance (A) นิยามสมการได้เป็น
                                                     
โดยทั่วไปจะรายงานค่า transmittance เป็นเปอร์เซ็นต์ (%T) ดังนั้น

                                                  
                                           
                                           
                                            log %T = 2 – A หรือ

                                                     A = 2 - log %T

 
             ดังนั้น ค่า T มีค่าอยู่ในช่วง 0-1และ %T มีค่าตั้งแต่ 0-100
ส่วน A=0 เมื่อแสงที่ผ่านเข้าไปในตัวอย่างไม่ถูกดูดกลืนไว้ และผ่านออกมา 100%,
A=1 เมื่อแสงผ่านออกมาเพียง 10% และ A=2 ถ้าแสงผ่านออกมาน้อยมากเพียง 1%
 
Transmittance (I/I0)
%T
(log I/I0)
    log %T

Absorbance
(- log T)
1
100
2
0
0.1
10
1
1
0.01
1
0
2
0.001
0.1
-1
3
 
 
รูปที่ 2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าการดูดกลืน กับ %transmittance