อัตราการเกิดปฏิกิริยา (reaction rate, r) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารตั้งต้นหรือสารผลิตภัณฑ์เมื่อเวลาเปลี่ยนไป

ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์กับเวลา

         ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาโมเลกุลของสารตั้งต้นก็จะเปลี่ยนเป็นสารผลิตภัณฑ์ ทำให้ความเข้มข้นของสารตั้งต้นลดลง ส่วนความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราจึงสามารถติดตามการดำเนินไปของปฏิกิริยาได้จาก

           การวัดความเข้มข้นที่ลดลงของสารตั้งต้น
           การวัดความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นของสารผลิตภัณฑ์

หมายเหตุ :

ในการวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยามีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ

  1. ต้องทำการผสมสาร (เขย่า) ด้วยความสม่ำเสมอ
  2. เมื่อผสมสารเสร็จต้องรีบทำการวัดทันที
  3. การผสมสารด้วยมือ จะหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเริ่มต้น (initial rate) จริงๆ ได้ ยากมากเพราะเมื่อผสมสารด้วยมือเสร็จแล้วทำการวัด ก็หมายความว่า เวลาได้ผ่านไปแล้วอย่างน้อย 3 วินาที
  4. ต้องทำการทดลองที่ความเข้มข้นต่ำๆ ตั้งแต่ระดับมิลลิโมลาร์ (mM) ลงมา

    พิจารณาปฏิกิริยา

ถ้าแทนความเข้มข้นของสารในปฏิกิริยา คือ [A], [B] และ [C] เราจะสามารถหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาได้จาก

     อัตราการเกิดของสารผลิตภัณฑ์ C
 
     อัตราการลดลงของสารตั้งต้น A หรือ B ตัวใดตัวหนึ่ง
        (อัตราการลดลงใส่เครื่องหมายลบ)

ตัวอย่างที่ 1 การสลายตัวของ H2O2 ได้เป็น O2 และ H2O

        อัตราการเกิดปฏิกิริยา คือ

 

     พิจารณาปฏิกิริยา

จะได้ว่า

อัตราการเกิดสารผลิตภัณฑ์ C    =   3 x (อัตราการลดลงของสารตั้งต้น A)

อัตราการเกิดปฏิกิริยา คือ

ตัวอย่างที่ 2 จากปฏิกิริยาการสลายตัวของ NOBr พบว่า อัตราการเกิด NO มีค่าเท่ากับ 1.6 x 10-4 mol L-1 s-1 จงคำนวณอัตราการเกิดปฏิกิริยา และอัตราการลดลงของ NOBr ?

วิธีคิด

จากสมการเคมี จะได้ว่า

ดังนั้น    อัตราการเกิดปฏิกิริยา หาได้จาก

อัตราการเกิดปฏิกิริยา มีค่าเท่ากับ 8.0 x 10-5 mol L-1 s-1

และเนื่องจาก อัตราการลดลงของ NOBr เป็น 2 เท่าของอัตราการเกิดปฏิกิริยา จึงได้ว่า
ดังนั้น อัตราการลดลงของ NOBr มีค่าเท่ากับ 1.6 x 10-4 mol L-1 s-1

 

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาวะต่าง ๆ ของปฏิกิริยา เช่น อุณหภูมิ หรือความเข้มข้น นักเรียนคิดว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?

       จากการทดลองพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอัตราการเกิดปฏิกิริยามี 6 ปัจจัย ดังนี้

  1. ธรรมชาติของสารทำปฏิกิริยา
  2. ความเข้มข้นของสารทำปฏิกิริยา
  3. ความดันของสารทำปฏิกิริยา
  4. อุณหภูมิ
  5. ตัวเร่งปฏิกิริยา
  6. พื้นที่ผิว