หัวข้อที่จะได้ศึกษา







 

ทิศทางของกระบวนการทางเทอร์โมไดนามิกส์ (directions of thermodynamics processes)

กระบวนการทางเทอร์โมไดนามิกส์ ทุกกระบวนการที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติเป็นแบบผันกลับไม่ได้ เรียกว่าเป็น irreversible process นั่นคือกระบวนการที่เกิดขึ้นจะเป็นไปในทิศทางเดียว เช่นการไหลของความร้อนจะไหลจากวัตถุที่ร้อนกว่าไปยังวัตถุที่เย็นกว่าเท่านั้น จะไม่เป็นไปในทางกลับกัน เมื่อเราผลักหนังสือให้ไถลไปบนโต๊ะ พลังงานกลจะเปลี่ยนไปเป็นความร้อนเนื่องจากการเสียดสี กระบวนการนี้ผันกลับไม่ได้ นั่นคือเราไม่เคยเห็นกรณีที่หนังสือหยุดนิ่งบนโต๊ะ แล้วอยู่ดี ๆ มันก็เคลื่อนที่และทั้งโต๊ะและหนังสือเย็นลง

กระนั้นก็ตามเราอาจนึกถึงระบบที่สามารถเกิดการเปลี่ยนสภาวะแบบผันกลับได้ (reversible process) ระบบแบบนี้เป็นระบบในอุดมคติ โดยที่กระบวนการแบบผันกลับได้ของระบบแบบนี้จะใกล้เคียงกับความเป็นสมดุลทางเทอร์โมไดนามิกส์ (thermodynamic equilibrium) เช่น อุณหภูมิของระบบคงที่ตลอดการเปลี่ยนสภาวะ ไม่มีการไหลเข้าหรือออกของความร้อน ไม่มีการขยายหรือหดลงของปริมาตร นั่นคือไม่มีการทำงานเกิดขึ้น แต่หากปริมาณพวกนี้มีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการแบบผันกลับได้มันจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (infinitesimal change) จนอาจถือว่าสภาวะของระบบยังอยู่ในสมดุล ดังนั้นเราอาจเรียกกระบวนการแบบผันกลับได้ว่า quasi-equilibrium process

ในทางตรงกันข้าม ในกระบวนการแบบผันกลับไม่ได้ ระบบจะมีการเปลี่ยนสภาวะโดยที่ตัวแปรสภาวะมีการเปลี่นแปลงด้วยค่าที่แน่นอน ไม่ใช่การเปลี่ยนน้อย ๆ ดังนั้นจึงไม่มีสภาวะที่เกิดสมดุลทางเทอร์โมไดนามิกส์จนกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการ เราจึงอาจเรียกกระบวนการแบบผันกลับไม่ได้ว่า nonequilibrium process

ทิศทางของกระบวนการจะสัมพันธ์กับความไม่เป็นระเบียบ (disorder หรือ randomness) ในสภาวะสุดท้าย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีกระดาษจำนวนหนึ่งซึ่งในแต่ละใบเขียนตัวเลขต่าง ๆ กันไว้ ถ้าเราเรียงมันไว้ตามลำดับแล้วโยนกระดาษทั้งหมดขึ้นไป มันจะไม่ตกลงมาโดยเรียงตัวกันตามลำดับเหมือนเดิม แต่จะลงมาแบบไม่เป็นระเบียบ ในทำนองเดียวกัน พลังงานจลน์ในระดับมหภาพ (macroscopic kinetic energy) จะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่อย่างเป็นระเบียบของโมเลกุล แต่การส่งผ่านความร้อนจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนของพลังงานของการเคลื่อนที่อย่างไม่เป็นระเบียบของโมเลกุล ดังนั้นการเปลี่ยนรูปของพลังงานกลไปเป็นความร้อน จะมีความไม่เป็นระเบียบเข้ามาเกี่ยวข้อง

ในหัวข้อถัดไปเราจะได้ศึกษาถึงเครื่องจักรสองประเภท ได้แก่เครื่องจักรความร้อน ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนความร้อนไปเป็นงาน และเครื่องทำความเย็น ซึ่งใช้ในการถ่ายเทความร้อนจากที่ที่เย็นกว่าไปยังที่ที่ร้อนกว่า

UP

เครื่องจักรความร้อน (heat engines)

อุปกรณ์ใด ๆ ที่สามารถเปลี่ยนความร้อนส่วนหนึ่งไปเป็นงานหรือพลังงานกล จะเรียกว่า เครื่องจักรความร้อน (heat engine) โดยมากสสารปริมาณหนึ่งในเครื่องจักรที่ได้รับหรือสูญเสีย ความร้อนจะมีการขยายหรือหดตัว และบางครั้งอาจมีการเปลี่ยนสถานะ เราเรียกสสารนี้ว่า working substance ของเครื่องจักร ในเครื่องจักรแบบเผาไหม้ภายใน (internal-combustion engines) working substance คือส่วนผสมของอากาศกับน้ำมัน ในเครื่องจักรไอน้ำ (steam engines) working substance คือน้ำ

เครื่องจักรอย่างง่ายที่สุดที่เราจะพิจารณาคือเครื่องจักรที่ working substance ของมันมีกระบวนการเปลี่ยนสภาวะแบบวัฏจักร ซึ่งคือชุดของกระบวนการที่ working substance ในสภาวะสุดท้ายจะอยู่ในสภาวะเดียวกับสภาวะตั้งต้น ในเครื่องจักรไอน้ำ น้ำที่ใช้จะถูกนำมาใช้อีกเรื่อย ๆ ส่วนเครื่องจักรแบบเผาไหม้ภายในจะไม่ใช้อากาศเดิมตลอดแต่เรายังสามารถทำการวิเคราะห์โดยประมาณว่ามันเปลี่ยนสภาวะเป็นแบบวัฏจักรได้

เครื่องจักรความร้อนทุก ๆ เครื่องจะได้รับ (absorb) ความร้อนจากแหล่งที่มีอุณหภูมิสูง เสร็จแล้วมันจะทำงานกลและปล่อย (discard หรือ reject) ความร้อนส่วนหนึ่งไปยังที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ซึ่งความร้อนที่ปล่อยออกมานี้ถือว่าเป็นความร้อนที่เครื่องจักรสูญเสียไป (wasted)

เมื่อเครื่องจักร(ระบบ)มีการเปลี่ยนสภาวะแบบวัฏจักร พลังงานภายในของระบบที่สภาวะตั้งต้นและสภาวะสุดท้ายจะเท่ากัน จากกฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์ จะได้
ดังนั้น

ดังนั้นความร้อนสุทธิที่ไหลเข้าไปในเครื่องจักรจะเท่ากับงานสุทธิที่เครื่องจักรทำ ในการวิเคราะห์เครื่องจักรความร้อน เราจะนึกถึงวัตถุสองอันที่มาทำอันตรกิริยากับเครื่องจักร อันหนึ่งคือ แหล่งความร้อนอุณหภูมิสูง (hot reservoir) ซึ่งเป็นแหล่งที่ให้ความร้อนแก่เครื่องจักร มันสามารถให้ความร้อนปริมาณมาก ๆ แก่ working substance ที่อุณหภูมิ คงที่ และอุณหภูมิของมันเองไม่เปลี่ยน วัตถุอีกอันหนึ่งคือ แหล่งความร้อนอุณหภูมิต่ำ (cold reservoir) (หรือแหล่งความเย็น) ซึ่งสามารถดูดรับความร้อนปริมาณมาก ๆ ที่เครื่องจักรปล่อยออกมาที่อุณหภูมิคงที่ที่ต่ำกว่า ในเครื่องจักรไอน้ำ เปลวไฟและแก๊สที่ร้อนในเครื่องต้มจะเป็น hot reservoir ส่วนน้ำเย็นและอากาศที่ใช้ในการควบแน่นให้ไอน้ำที่ใช้แล้วเย็นลง เป็น cold reservoir

ให้ปริมาณความร้อนที่มีการส่งผ่านกับ hot reservoir และ cold reservoir แทนด้วย และ ตามลำดับ ปริมาณความร้อน เป็นบวกเมื่อมันไหลเข้าสู่ working substance และเป็นลบเมื่อมันไหลออกจาก working substance

หมายเหตุ ทั้ง  และ  จะเป็นขนาดของความร้อนซึ่งมีค่าเป็นบวก ในกรณีที่ระบบคายความร้อนที่ต้องเป็นลบจะใช้



รูปที่ 10-8 แผนภาพการถ่ายเทพลังงานสำหรับเครื่องจักรความร้อน

เราจะพิจารณาการเปลี่ยนรูปของพลังงานโดยใช้แผนภาพการถ่ายเทพลังงาน (energy-flow diagram) ดังรูปที่ 10-8 วงกลมในรูปแทนเครื่องจักรความร้อน ขนาดของปริมาณความร้อน ที่เครื่องจักรได้รับจาก hot reservoir แสดงได้ด้วยขนาดของ “ท่อ” ที่ต่อจาก hot reservoir ไปยังเครื่องจักรความร้อน และขนาดของ “ท่อ” ที่ต่อระหว่างเครื่องจักรความร้อนกับ cold reservoir บอกถึงขนาดของปริมาณความร้อน ที่เครื่องจักรความร้อนปล่อยออกมา และ “ท่อ” ทางด้านขวาแทนส่วนของความร้อนที่เครื่องจักรเปลี่ยนไปเป็นงาน W

ในหนึ่งรอบของการทำงานของเครื่องจักรความร้อน และ เป็นปริมาณความร้อนที่มันได้รับและสูญเสียไปตามลำดับ ดังนั้นความร้อนสุทธิที่เครื่องจักรได้รับในหนึ่งรอบของการทำงานคือ เครื่องจักรได้รับความร้อนนี้แล้วนำไปใช้ในการทำงาน งานสุทธิที่ทำโดย working substance ในเครื่องจักรหาได้จากกฎข้อที่หนึ่ง จะได้

(10-32)

ในเครื่องจักรความร้อน ดังนั้น ในสมการ (10-32) มีค่าเป็นลบ แสดงถึงงานที่ระบบทำ

ในการพิจารณาเกี่ยวกับงานที่ระบบทำและต้องพบกับงานที่มีค่าเป็นลบ อาจจะทำให้สับสนได้และนี่เป็นจุดอ่อนอันหนึ่งของการใช้ข้อตกลงที่ว่างานที่ทำให้กับระบบเป็นบวก ส่วนงานที่ระบบทำต่อสิ่งแวดล้อมมีค่าเป็นลบ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงข้อสับสนนี้ในเรื่องของประสิทธิภาพของเครื่องจักรความร้อน เราจะสนใจเฉพาะขนาดของความร้อนและขนาดของงานโดยไม่คิดเครื่องหมาย เราจึงจะพิจารณา , และ ซึ่งจะไม่เคยเป็นลบเลย

ย้อนกลับมาพิจารณาสมการ (10-63) ที่ว่า ซึ่งสามารถเขียนใหม่ได้เป็น

(สำหรับเครื่องจักรความร้อน)
(10-33)

สมการนี้แสดงให้เห็นว่าถ้าเราต้องการได้งานมาก ๆ จากเครื่องจักรความร้อนเราต้องพยายามเปลี่ยน ให้เป็น โดยสูญเสียไปเป็น ให้น้อยที่สุด ถ้าเป็นไปได้เราอยากที่จะเปลี่ยนความร้อน ทั้งหมดให้เป็นงาน ในกรณีนั้นเราจะได้ และ แต่นี่เป็นงานในอุดมคติ ในความเป็นจริงมักจะมีการสูญเสียความร้อนเสมอ นั่นคือ ไม่เคยเป็นศูนย์

เราให้นิยาม ประสิทธิภาพอุณหภาพ (thermal efficiency) : e    ของเครื่องจักรความร้อน ว่าเป็นอัตราส่วนระหว่างขนาดของงานที่เครื่องจักรทำได้จริงต่อความร้อนที่เครื่องจักรได้รับ นั่นคือ

(10-34)

e ไม่มีหน่วยเนื่องจากเป็นอัตราส่วนของพลังงานด้วยกัน
ตัวอย่างที่10-5

          
ถ้าเครื่องจักรความร้อนมีประสิทธิภาพ 20.0% และคายพลังงาน 3.00   103 J ให้แก่น้ำที่ใช้หล่อเย็นเครื่องจักร จงหางานที่เครื่องจักรทำ

วิธีทำ
          ดังนั้น
          จะได้ว่า
          สำหรับเครื่องจักรความร้อน


UP

เครื่องทำความเย็น (refrigerators)


เราสามารถคิดว่าเครื่องทำความเย็น (refrigerator) คือเครื่องจักรความร้อนที่ทำงานแบบผันกลับ เครื่องจักรความร้อนรับเอาความร้อนจากที่ร้อนกว่าแล้วคายความร้อนออกไปในที่ที่เย็นกว่า เครื่องทำความเย็นจะทำตรงกันข้าม มันจะรับความร้อนจากที่ที่เย็นกว่า (ซึ่งคือภายในตัวเครื่องทำความเย็นเอง) แล้วปล่อยความร้อนออกในที่ที่ร้อนกว่า (ปกติจะเป็นอากาศในห้องที่มีเครื่องทำความเย็นตั้งอยู่)

เครื่องจักรอย่างง่ายที่สุดที่เราจะพิจารณาคือเครื่องจักรที่ working substance ของมันมีกระบวนการเปลี่ยนสภาวะแบบวัฏจักร ซึ่งคือชุดของกระบวนการที่ working substance ในสภาวะสุดท้ายจะอยู่ในสภาวะเดียวกับสภาวะตั้งต้น ในเครื่องจักรไอน้ำ น้ำที่ใช้จะถูกนำมาใช้อีกเรื่อย ๆ ส่วนเครื่องจักรแบบเผาไหม้ภายในจะไม่ใช้อากาศเดิมตลอดแต่เรายังสามารถทำการวิเคราะห์โดยประมาณว่ามันเปลี่ยนสภาวะเป็นแบบวัฏจักรได้

เครื่องจักรความร้อนทุก ๆ เครื่องจะได้รับ (absorb) ความร้อนจากแหล่งที่มีอุณหภูมิสูง เสร็จแล้วมันจะทำงานกลและปล่อย (discard หรือ reject) ความร้อนส่วนหนึ่งไปยังที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ซึ่งความร้อนที่ปล่อยออกมานี้ถือว่าเป็นความร้อนที่เครื่องจักรสูญเสียไป (wasted)

เมื่อเครื่องจักร(ระบบ)มีการเปลี่ยนสภาวะแบบวัฏจักร พลังงานภายในของระบบที่สภาวะตั้งต้นและสภาวะสุดท้ายจะเท่ากัน จากกฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์ จะได้

ดังนั้น

ดังนั้นความร้อนสุทธิที่ไหลเข้าไปในเครื่องจักร จะเท่ากับงานสุทธิที่เครื่องจักรทำ ในการวิเคราะห์เครื่องจักรความร้อน เราจะนึกถึงวัตถุสองอันที่มาทำอันตรกิริยากับเครื่องจักร อันหนึ่งคือ แหล่งความร้อนอุณหภูมิสูง (hot reservoir) ซึ่งเป็นแหล่งที่ให้ความร้อนแก่เครื่องจักร มันสามารถให้ความร้อนปริมาณมาก ๆ แก่ working substance ที่อุณหภูมิ คงที่ และอุณหภูมิของมันเองไม่เปลี่ยน วัตถุอีกอันหนึ่งคือ แหล่งความร้อนอุณหภูมิต่ำ (cold reservoir) (หรือแหล่งความเย็น) ซึ่งสามารถดูดรับความร้อนปริมาณมาก ๆ ที่เครื่องจักรปล่อยออกมาที่อุณหภูมิคงที่ที่ต่ำกว่า ในเครื่องจักรไอน้ำ เปลวไฟและแก๊สที่ร้อนในเครื่องต้มจะเป็น hot reservoir ส่วนน้ำเย็น และอากาศที่ใช้ในการควบแน่นให้ไอน้ำที่ใช้แล้วเย็นลง เป็น cold reservoir

ให้ปริมาณความร้อนที่มีการส่งผ่านกับ hot reservoir และ cold reservoir แทนด้วย และ ตามลำดับ ปริมาณความร้อน เป็นบวกเมื่อมันไหลเข้าสู่ working substance และเป็นลบเมื่อมันไหลออกจาก working substance

หมายเหตุ ทั้ง   และ   จะเป็นขนาดของความร้อนซึ่งมีค่าเป็นบวก ในกรณีที่ระบบคายความร้อนที่ต้องเป็นลบจะใช้


รูปที่ 10-9 แผนภาพการถ่ายเทพลังงานสำหรับเครื่องทำความเย็น

เครื่องจักรความร้อนให้งานกลสุทธิอออกมา แต่เครื่องทำความเย็นต้องการงานกลสุทธิ จากแผนภาพของเครื่องทำความเย็น ดังแสดงในรูปที่ 10-9 จะเห็นว่าเครื่องทำความเย็นได้รับความร้อนปริมาณ จาก cold reservoir แล้วปล่อยความร้อนปริมาณ ให้แก่ hot reservoir ดังนั้นในหนึ่งรอบของการทำงาน ความร้อนที่เครื่องทำความเย็นได้รับคือ และจากกฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์ สำหรับกระบวนการแบบวัฎจักรของเครื่องทำความเย็น จะได้ว่า

(10-35)

เนื่องจากความร้อน ที่ออกมาจาก working substance และให้กับ hot reservoir จะมากกว่าความร้อน ที่ได้รับจาก cold reservoir เสมอ ดังนั้นงานในสมการ (10-35) จะมีค่าเป็นบวก ซึ่งแสดงถึงงานที่สิ่งแวดล้อมทำต่อระบบ

ประสิทธิภาพของการทำงานของเครื่องทำความเย็นจะดีที่สุดหากมันสามารถเอาความร้อน ปริมาณมาก ๆ ออกมาจากภายในเครื่องจักรได้ โดยที่เราทำงานให้กับระบบน้อยที่สุด อัตราส่วนที่ต้องพิจารณาจึงเป็น ยิ่งอัตราส่วนมีค่ามาก ประสิทธิภาพของเครื่องจักรก็จะยิ่งดี เราเรียกอัตราส่วนนี้ว่า สัมประสิทธิ์ของการทำงาน (coefficient of performance) เขียนแทนด้วย

จากสมการ (10-35) จะได้                            
(10-36)

โดยปกติความร้อนไหลจากที่ที่ร้อนกว่าไปยังที่ที่เย็นกว่า ถ้าเราต้องการทำให้กระบวนการนี้ผันกลับดังเครื่องทำความเย็น เราจะต้องให้งานกับระบบ มันจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสร้างเครื่องทำความเย็นซึ่งนำความร้อนจากที่เย็นกว่าไปยังที่ที่ร้อนกว่าโดยไม่มีการให้งานเข้าไป ถ้าไม่ต้องให้งานเข้าไปเลย ค่าสัมประสิทธิ์ของการทำงานจะเป็นอนันต์ (infinite) เราเรียกอุปกรณ์แบบนี้ว่า workless refrigerator ซึ่งไม่มีจริง

ตัวอย่างที่10-6


          
เครื่องทำความเย็นดึงเอาความร้อนจากที่ที่เย็นกว่าเข้ามาในเครื่องได้ 3 เท่าของงานที่ทำให้แก่เครื่อง
ก) จงหาสัมประสิทธิ์ของการทำงานของเครื่องทำความเย็นนี้
ข) จงหาอัตราส่วนของความร้อนที่เครื่องระบายออกต่อความร้อนที่เครื่องได้รับ

          วิธีทำ

          ก)

          ข) จากข้อ ก) เราได้

          ดังนั้น แล้ว


UP

กฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ (the second law of thermodynamics)

หลักฐานที่ได้จากการทดลองบอกเราว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างเครื่องจักรความร้อนที่สามารถเปลี่ยนความร้อนทั้งหมดไปเป็นงานได้ นั่นคือไม่มีเครื่องจักรความร้อนใดที่มีประสิทธิภาพเป็น 100% นี่เป็นที่มาของคำอธิบายหนึ่งของกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ ดังนี้

“ไม่มีระบบใดที่สามารถเปลี่ยนสภาวะแบบวัฏจักร โดยดึงความร้อนจากแหล่งให้ความร้อนที่อุณหภูมิหนึ่งแล้วเปลี่ยนความร้อนทั้งหมดไปเป็นงานกล”

คำอธิบายนี้เรียกว่า “engine” statement ของกฎข้อที่สอง

กฎข้อที่สองไม่ได้ขัดแย้งกับกฎข้อที่หนึ่ง นั่นคือถึงแม้ว่าในกฎข้อที่หนึ่งความร้อนที่ระบบได้รับอาจเปลี่ยนเป็นพลังงานกลได้ ตราบใดที่มีการอนุรักษ์ของพลังงาน กฎข้อที่สองจึงไม่ได้เป็นผลจากกฎข้อที่หนึ่ง แต่เป็นอีกกฎหนึ่งของธรรมชาติที่แยกออกมา กฎข้อที่หนึ่งพูดถึงการไม่สูญหายไปหรือการเปลี่ยนรูปของพลังงาน แต่กฎข้อที่สองให้ข้อจำกัดต่อการใช้และการเปลี่ยนรูปของพลังงาน

ในการวิเคราะห์เรื่องของเครื่องทำความเย็นในหัวข้อที่แล้ว จะได้คำอธิบายอีกอันหนึ่งสำหรับกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ ความร้อนไหลจากที่ที่ร้อนกว่าไปยังที่ที่เย็นกว่า ไม่มีการผันกลับ แต่เครื่องทำความเย็นนำเอาความร้อนจากที่ที่เย็นกว่าไปยังที่ที่ร้อนกว่าโดยมันต้องการพลังงานกลหรืองานจากภายนอก เราอาจบรรยายได้ว่า

“ไม่มีระบบการใดที่สามารถส่งผ่านความร้อนจากที่ที่เย็นกว่าไปยังที่ที่ร้อนกว่าด้วยตนเองได้”

เราจะเรียกคำอธิบายนี้ว่า “refrigerator” statement ของกฎข้อที่สอง

UP

วัฏจักรคาร์โนต์ (the Carnot cycle)

จากกฎข้อที่สอง ไม่มีเครื่องจักรความร้อนใดที่มีประสิทธิภาพของการทำงานเป็น 100% ถ้าอย่างนั้นประสิทธิภาพที่ดีที่สุดที่เครื่องจักรสามารถมีได้จะเป็นเท่าไร คำถามนี้สามารถตอบได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1824 โดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส Sadi Carnot (ค.ศ. 1796 – 1832) ผู้ซึ่งคิดค้นเครื่องจักรความร้อนในอุดมคติ ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดที่เป็นไปได้ตามกฎข้อที่สอง วัฏจักรของเครื่องจักรแบบนี้เรียกว่า วัฏจักรคาร์โนต์

เราจะกลับไปใช้เรื่องของการผันกลับได้ (reversibility) ซึ่งเกี่ยวกับ ทิศทางของกระบวนการทางเทอร์โมไดนามิกส์ การเปลี่ยนงานให้เป็นความร้อน เป็นกระบวนการที่ผันกลับไม่ได้ (irreversible process) เครื่องจักรความร้อนเป็นกระบวนการที่ตรงกันข้าม คือมันเปลี่ยนความร้อนไปเป็นงาน เพื่อให้เครื่องจักรความร้อนมีประสิทธิภาพมากที่สุด เราจะต้องพยายามไม่ให้มีกระบวนการผันกลับได้เกิดขึ้น

การไหลของความร้อนโดย ที่มีการลดลงของอุณหภูมิ เป็นกระบวนการที่ผันกลับได้ ดังนั้นในช่วงที่มีการส่งผ่านความร้อนในวัฏจักรคาร์โนต์ จะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเกิดขึ้น เมื่อเครื่องจักรดึงเอาความร้อนจาก hot reservoir ที่อุณหภูมิ working substance ของเครื่องจักรจะต้องอยู่ที่อุณหภูมิ ด้วย มิเช่นนั้นความร้อนอาจไหลย้อนกลับได้ ในทำนองเดียวกันเมื่อเครื่องจักรถ่ายเทความร้อนไปยัง cold reservoir ที่อุณหภูมิ เครื่องจักรเองก็ต้องมีอุณหภูมิ ด้วย นั่นคือทุกกระบวนการที่มีการส่งผ่านความร้อน จะต้องเป็นกระบวนการที่อุณหภูมิของระบบคงที่ (isothermal process) ไม่ที่ ก็ ในทางกลับกัน กระบวนการใดที่อุณหภูมิของ working substance ของเครื่องจักรมีการเปลี่ยนแปลงระหว่าง และ จะต้องไม่มีการส่งผ่านความร้อนเกิดขึ้นระหว่างเครื่องจักรกับแหล่งความร้อน ดังนั้นกระบวนการใดที่อุณหภูมิของ working substance เปลี่ยน จะต้องเป็น adiabatic process


วัฏจักรคาร์โนต์ / เครื่องจักรความร้อนคาร์โนต์ (The Carnot cycle / The Carnot engine)



รูปที่ 10 -10 วัฎจักรคาร์โนต์

วัฏจักรคาร์โนต์เป็นวัฏจักรที่ย้อนกลับได้ ประกอบด้วยกระบวนการที่อุณหภูมิคงที่ (isothermal processes) สองกระบวนการ และกระบวนการที่ไม่มีการถ่ายเทความร้อน (adiabatic processes) สองกระบวนการ -diagram ดังรูปที่ 10-10 ซึ่งแสดงวัฏจักรคาร์โนต์ที่มีแก๊สอุดมคติเป็น working substance ประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
(a --> b) แก๊สขยายตัวที่อุณหภูมิคงที่ ระบบได้รับความร้อนปริมาณ
(b --> c) แก๊สขยายตัวโดยไม่ได้รับความร้อนจนกระทั่งอุณหภูมิลดลงเป็น
(c --> d) แก๊สถูกอัดที่อุณหภูมิคงที่ ระบบคายความร้อนเป็นปริมาณ
(d --> a) แก๊สถูกอัดโดยไม่มีการคายความร้อนแล้วกลับไปยังสภาวะตั้งต้นที่อุณหภูมิ

เราสามารถคำนวณหาประสิทธิภาพของเครื่องจักรความร้อนคาร์โนต์นี้ได้ โดยเริ่มจากการหาอัตราส่วน จาก isothermal processes ทั้งสอง จากนั้นใช้นิยามของ

สำหรับแก๊สอุดมคติ พลังงานภายใน ของมันมีค่าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเท่านั้น ดังนั้นจึงมีค่าคงที่ใน isothermal processes ทั้งสอง สำหรับ isothermal expansion ตามเส้นทาง a --> b จะได้ และความร้อน ที่เข้าไปในระบบจะเท่ากับงาน ที่ทำโดยแก๊สในช่วงที่มันขยายตัวที่อุณหภูมิคงที่ เราคำนวณหางานนี้ได้ดังนี้ (จากตัวอย่างที่ 10-1)

(10-37)

ทำนองเดียวกัน สำหรับเส้นทาง c --> d ความร้อน ที่สูญเสียออกไปจะเท่ากับงาน ที่ทำต่อแก๊สในช่วงที่ปริมาตรลดลงที่อุณหภูมิคงที่ จะได้

(10-38)

อัตราส่วนของความร้อนทั้งสองนี้คือ

(10-39)

ใช้ความสัมพันธ์ของอุณหภูมิและปริมาตรที่เคยหามาแล้ว สำหรับ adiabatic processes ทั้งสองในวัฏจักรคาร์โนต์ จะได้

(10-40)
และ
(10-41)

จับสองสมการนี้มาหารกัน จะได้


หรือ
(10-42)


แทนสมการ (10-42) นี้ลงไปในอัตราส่วน ในสมการ (10-39) จะได้

(10-43)

นั่นคือ อัตราส่วนของความร้อนที่ถ่ายเทออกไปต่อความร้อนที่ได้รับเข้ามาเท่ากับอัตราส่วนของอุณหภูมิ ดังนั้นจากนิยามของประสิทธิภาพ จะได้ ของเครื่องจักรความร้อนคาร์โนต์เป็น

(10-44)

จะเห็นว่าประสิทธิภาพของเครื่องจักรคาร์โนต์มีค่าขึ้นกับอุณหภูมิของแหล่งความร้อนทั้งสองเท่านั้น จะมีค่ามากเมื่อผลต่างของอุณหภูมิทั้งสองมีค่ามาก และ จะมีค่าสูงสุดเป็น 1 ก็ต่อเมื่อ

UP

เครื่องทำความเย็นคาร์โนต์ (the Carnot refrigerator)

เนื่องจากทุก ๆ ขั้นตอนในวัฏจักรคาร์โนต์สามารถย้อนกลับได้ ทั้งวัฏจักรก็สามารถเกิดแบบวกกลับได้ เครื่องจักรความร้อนก็จะกลายเป็นเครื่องทำความเย็น เราหาสัมประสิทธิ์ของการทำงาน K สำหรับเครื่องทำความเย็นคาร์โนต์ได้จากนิยาม คือ

(10-45)

จากเรื่องของเครื่องจักรความร้อนคาร์โนต์ เราทราบว่า จะได้ว่า

(10-46)

เมื่อผลต่างของอุณหภูมิ มีค่าน้อย K จะมีค่ามาก ในกรณีนี้ความร้อนปริมาณมากจะถูกดึงออกจากที่ที่เย็นกว่าไปปล่อยยังที่ที่ร้อนกว่าโดยใช้งานเพียงน้อยนิด แต่ถ้าผลต่างของอุณหภูมิมีค่ามาก K จะน้อยลง นั่นหมายถึงต้องใช้งานปริมาณมากในการถ่ายเทความร้อน

ข้อสังเกต:
ไม่มีเครื่องจักรใดที่มีประสิทธิภาพมากไปกว่าเครื่องจักรคาร์โนต์ ซึ่งเป็นการอธิบายกฎข้อที่สองได้ในอีกรูปแบบหนึ่ง

เครื่องจักรคาร์โนต์ทุกเครื่องที่ทำงานระหว่างอุณหภูมิสองอุณหภูมิเหมือนกัน จะมีประสิทธิภาพเท่ากัน ไม่ว่า working substance จะเป็นอะไร

ตัวอย่างที่ 10-7

         เครื่องทำความเย็นแบบคาร์โนต์ต้องการงานเท่าไรในการนำความร้อน 1.00 J จากฮีเลียมในตัวเครื่องที่มีอุณหภูมิ 4.00 K เพื่อปล่อยไปข้างนอกที่อุณหภูมิ 293 K

        วิธีทำ สำหรับเครื่องทำความเย็น และเราทราบว่า
                 เมื่อเครื่องจักรเป็นแบบคาร์โนต์ เราใช้ความสัมพันธ์ ได้
                 ความร้อนที่ปล่อยออกไปทั้งหมด

                 ดังนั้นงานที่เครื่องทำความเย็นต้องการคือ


UP


เอนโทรปี

จากกฎข้อที่สองในรูปแบบต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าเป็นกฎที่แตกต่างจากกฎทางฟิสิกส์อื่น ๆ ตรงที่ไม่ได้อยู่ในรูปของสมการที่ใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณต่าง ๆ แต่จะอยู่ในรูปของคำอธิบายที่เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตามกฎข้อที่สองก็สามารถเขียนออกมาให้อยู่ในรูปของความสัมพันธ์ของปริมาณที่เรียกว่า เอนโทรปี (entropy) ได้

เราเคยพูดถึงเรื่องของกระบวนการต่าง ๆ ในธรรมชาติที่มีทิศทางแบบที่เพิ่มความไม่เป็นระเบียบของระบบ เมื่อเราให้ความร้อนเข้าไปในวัตถุอันหนึ่ง จะเพิ่มความไม่เป็นระเบียบ ให้กับมันเนื่องจากอัตราเร็วเฉลี่ยของแต่ละโมเลกุลจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นความไม่เป็นระเบียบของการเคลื่อนที่ของพวกมันมีมากขึ้น การขยายตัวอย่างอิสระของแก๊ส เพิ่มความไม่เป็นระเบียบของตัวมันเนื่องจาก แต่ละโมเลกุลมีตำแหน่งที่สามารถอยู่ได้แบบสุ่ม (random) มากขึ้น

เอนโทรปีและความไม่เป็นระเบียบ (entropy and disorder)
เอนโทรปี (entropy) เป็นปริมาณที่ใช้วัดความไม่เป็นระเบียบ (disorder) เราจะทำความเข้าใจ กับคำนี้โดยพิจารณาจาก infinitesimal isothermal expansion ของแก๊สอุดมคติ เมื่อเราให้ความร้อน แก่แก๊ส แล้วปล่อยให้แก๊สขยายตัวโดยที่อุณหภูมิคงที่ เนื่องจากพลังงานภายในของแก๊สอุดมคติขึ้นกับอุณหภูมิเท่านั้น พลังงานภายในจึงมีค่าคงที่ในกระบวนการ isothermal นี้ ดังนั้นจากกฎข้อที่หนึ่ง งาน ที่ทำโดยแก๊สจะเท่ากับความร้อน ที่ใส่เข้าไป นั่นคือ

10-47)

หรือ

(10-48)

แก๊สจะมีความไม่เป็นระเบียบมากขึ้น หลังจากที่มันขยายตัว เนื่องจากโมเลกุลกำลังเคลื่อนที่ในปริมาตรที่มากกว่า และมีตำแหน่งที่ไม่แน่นอนมากขึ้น ดังนั้นเราอาจใช้อัตราการเปลี่ยนของปริมาตร เป็นตัววัดการเพิ่มขึ้นของความไม่เป็นระเบียบได้ และจากสมการข้างต้นเนื่องจากมันแปรผันกับปริมาณ เราจะเสนอสัญลักษณ์ แทนเอนโทรปีของระบบ และให้นิยามของเอนโทรปีปริมาณน้อย ๆ (infinitesimal entropy) สำหรับกระบวนการแบบผันกลับได้เล็ก ๆ (infinitesimal reversible process) ที่อุณหภูมิสัมบูรณ์ ว่าเป็น

10-49)

ถ้ามีความร้อนปริมาณ ใส่เข้าไปในช่วง reversible isothermal process ที่อุณหภูมิสัมบูรณ์ เอนโทรปีของระบบจะเปลี่ยนไปทั้งสิ้น ดังนี้

(10-50)

ในระบบ SI หน่วยของเอนโทรปีคือ J/K

ถ้าสสารอยู่ในที่เย็นตอนตั้งต้น โมเลกุลมีการเคลื่อนที่เล็กน้อย เมื่อใส่ความร้อน ให้กับมัน จะทำให้โมเลกุลมีการเคลื่อนที่มากขึ้นและความไม่เป็นระเบียบมีมากขึ้น แต่ถ้าสสารร้อนอยู่แล้วตั้งแต่ต้น ใส่ความร้อนปริมาณเท่าเดิม ให้กับมันจะเพิ่มการเคลื่อนที่ และความไม่เป็นระเบียบให้กับโมเลกุล (ซึ่งมีความไม่เป็นระเบียบอยู่แล้ว)เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้น จึงเป็นปริมาณที่เหมาะสม ในการบรรยายถึงการเพิ่มขึ้นของความไม่เป็นระเบียบเมื่อมีความร้อนไหลเข้าไปในระบบ

เราสามารถเขียนนิยาม ของการเปลี่ยนของเอนโทรปี ให้อยู่ในรูปทั่วไปสำหรับ กระบวนการแบบผันกลับได้ใด ๆ เมื่อระบบมีการเปลี่ยนจากสภาวะตั้งต้น ไปเป็นสภาวะสุดท้าย ไม่ว่ากระบวนการนั้นจะเป็นแบบ isothermal หรือไม่ก็ตาม ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการเปลี่ยนสภาวะ ปริมาณความร้อนน้อย ๆ จะถูกใส่เข้าไปในระบบที่อุณหภูมิสัมบูรณ์ จากนั้นเราหาผลรวมโดยการอินทิเกรทอัตราส่วน สำหรับทั้งกระบวนการ จะได้

(10-51)

ลิมิตของการอินทิเกรท 1 และ 2 หมายถึงสภาวะเริ่มต้นและสุดท้ายตามลำดับ

เอนโทรปีเป็นตัววัดความไม่เป็นระเบียบของระบบ ที่สภาวะใดสภาวะหนึ่ง มันจะต้องมีค่าขึ้นกับ สภาวะปัจจุบันของระบบ ไม่ขึ้นกับสภาวะในอดีต

เมื่อระบบเปลี่ยนจากสภาวะเริ่มต้นซึ่งมีเอนโทรปี ไปยังสภาวะสุดท้ายซึ่งมีเอนโทรปี การเปลี่ยนของเอนโทรปีคือ ซึ่งไม่ขึ้นกับเส้นทางที่ใช้ในการเปลี่ยนสภาวะ นั่นคือ จะเท่ากันสำหรับทุกเส้นทางหรือทุกกระบวนการที่ใช้ในการเปลี่ยนจากสภาวะที่ 1 ไปยังสภาวะที่ 2


เอนโทรปีกับกฎข้อที่สอง (entropy and the second law)
เราสามารถให้คำอธิบายอีกอันหนึ่งสำหรับกฎข้อที่สองโดยอาศัยเอนโทรปีได้ดังนี้

“กระบวนการที่เกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ จะเกิดขึ้นในทิศทาง ที่ทำให้เอนโทรปีรวม ของระบบมีค่าคงที่ หรือไม่ก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น”

ซึ่งเราอาจเขียนให้อยู่ในรูปของ(อ)สมการได้เป็น

(10-52)
ตัวอย่างที่10-8

         แก๊สอุดมคติเปลี่ยนอุณหภูมิจาก ไปยังอุณหภูมิที่สูงกว่า ด้วยกระบวนการแบบผันกลับได้สองเส้นทางที่ต่างกันบน -diagram โดยเริ่มต้นจากจุดเดียวกัน กระบวนการ A คือที่ความดันคงที่ และกระบวนการ B คือที่ปริมาตรคงที่ จงเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงเอนโทรปีของแก๊สในสองเส้นทางนี้

        วิธีทำ อธิบายโดยใช้ความไม่เป็นระเบียบได้ดังนี้: กระบวนการที่ความดันคงที่ (A) เป็นกระบวนการที่แก๊สขยายตัว มีการเพิ่มปริมาตร ทำให้มีบริเวณที่แก๊สอยู่ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความไม่เป็นระเบียบ ในขณะที่กระบวนการที่ปริมาตรคงที่ (B) ไม่มีการขยายตัวของแก๊ส
ดังนั้นเปรียบเทียบกันแล้ว เอนโทรปีในเส้นทาง A จะมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าในเส้นทาง B

        ให้นักศึกษาลองคิดโดยใช้กฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์ เพื่อเปรียบเทียบความร้อนที่แก๊สได้รับในแต่ละเส้นทาง เส้นทางใดได้รับความร้อนปริมาณมากกว่า เอนโทรปีก็จะเปลี่ยนแปลงมากกว่า ลองคิดดูว่าเส้นทาง A จะได้รับความร้อนมากกว่าหรือไม่


UP